Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาสารที่นำเสนอในสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทแผ่นพับ และโปสเตอร์ในการโน้มน้าวใจบุคลากรภาครัฐและเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 1,016 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน ,t-test และ One-way ANOVA ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์เนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์ ที่เผยแพร่ในช่วงปี 2539-2543 ประกอบด้วยแผ่นพับ 34 แบบ และโปสเตอร์ 18 แบบ สรุปว่า สาระที่นำเสนอเน้นเรื่องความรู้เกี่ยวกับโลหิต โดยมีแนวคิดหลักคือ “โลหิตต้องมาจากการบริจาค ไม่มีการซื้อขาย” เน้นคุณสมบัติผู้บริจาคโลหิตที่มีคุณภาพ ประเด็นเนื้อหาเป็นการให้ข่าวสารข้อเท็จจริง และความรู้ รองลงมาเป็นการเสริมสร้างทัศนคติ และโน้มน้าวใจให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ลักษณะของการโน้มน้าวใจโดยใช้แรงจูงใจด้วยการย้ำให้ปฏิบัติตาม และใช้เรื่องของบุญกุศลใช้คำพูดกินใจ และสโลแกน ส่วนรูปลักษณ์ของสื่อส่วนใหญ่จัดพิมพ์ 4 สี เพื่อความสวยงาม และดึงดูดใจ ขนาดที่จัดทำคือแผ่นพับจะใช้แบบ 3 และ 4 คอลัมน์ ส่วนโปสเตอร์ จัดพิมพ์ขนาด 15” x 21” ส่วนที่ 2 การวิจัยเชิงสำรวจ สรุปผลได้ดังนี้ 1. บุคลากรภาครัฐและเอกชนที่มีเพศ การศึกษา อาชีพต่างกัน เปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตไม่ต่างกัน แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ สถานภาพสมรส และรายได้ต่างกัน เปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน 2. บุคลากรภาครัฐและเอกชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ แตกต่างกันมีความรู้เรื่องการบริจาคโลหิตต่างกัน แต่ บุคลากรภาครัฐและเอกชนที่มีสถานภาพสมรสและรายได้เฉลี่ยต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตไม่ต่างกันมีทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตไม่ต่างกัน 4.บุคลากรภาครัฐและเอกชนที่มีเพศ สถานภาพสมรส ต่างกัน มีพฤติกรรมบริจาคโลกิตต่างกัน 5. การเปิดรับสื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการบริจาคโลหิต 6.การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการบริจาคโลหิต 7.การเปิดรับมื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมบริจาคโลหิต 8.ความรู้เรื่องการบิจาคโลหิตไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับการบริจาคโลหิต 9.ความรู้เรื่องการบริจาคโลหิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมบริจาคโลหิต 10.ทัศนคติต่อการบริจาคโลหิต มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมบริจาคโลหิต