DSpace Repository

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล
dc.contributor.advisor สารีพันธุ์ ศุภวรรณ
dc.contributor.author เรข์ณพัศ ภาสกรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-05-03T03:59:56Z
dc.date.available 2021-05-03T03:59:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73221
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษา 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอก ระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้โปรแกรมการศึกษานอก ระบบโรงเรียนฯ กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 1,101 คน ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลาย ขั้นตอน 2) นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมฯจำนวน 30 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนนิสิตนักศึกษาจำนวน 20 คน ในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ค่า t-test และ p-value ร่วมกับการ วิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษาด้านแรงจูงใจ ความรู้ และทักษะ โดยรวมอยู่ ในระดับมาก 2. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ ประกอบด้วย 8 กระบวนการ ได้แก่ 1) การกำหนดพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโปรแกรม 2) การวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนและกลุ่มผู้รับบริการ 3) การพิจารณาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์จากการพัฒนาโปรแกรม 4) การกำหนดแหล่งทรัพยากร และการสนับสนุน 5) การออกแบบแผนการเรียนรู้ 6) โปรแกรมของการปฏิบัติงาน 7) ความน่าเชื่อถือของการใช้ทรัพยากร 8) การสื่อสารคุณค่าของ โปรแกรม และ 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) คุณสมบัติของผู้เรียน 5) คุณสมบัติของผู้สอน 6) วิธีการเรียนรู้ 7) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8) เทคนิคการเรียนรู้ 9) สื่อการเรียนรู้ 10) การประเมินผลการเรียนรู้ 11) บรรยากาศในการเรียนรู้ 12) ผลลัพธ์การเรียนรู้ และผลการใช้โปรแกรมฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนเฉลี่ยด้านแรงจูงใจ ความรู้ และทักษะ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางการประยุกต์ใช้โปรแกรมฯ ประกอบด้วย คุณสมบัติผู้สอน การจัดการและบริหารโปรแกรม และ การสร้าง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการประยุกต์ใช้โปรแกรมฯ ได้แก่ ผู้เรียน ทีมงาน และบริบทของวัฒนธรรม en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to 1) analyze interpersonal communication competencies for undergraduate students; 2) develop a non-formal education program to enhance interpersonal communication competencies for undergraduate students; 3) present the application guidelines of a non-formal education program. There are 3 groups of samples; 1) 1,101 undergraduate students who were selected by using multi-stage stratified random sampling; 2) 30 undergraduate students participating in the activities; 3) 20 experts and student representatives for focus group discussion. The statistics employed for analysis were frequency (), percentage (%), standard deviation (S.D.), t-test, p-value and content analysis. The findings can be summarized as follows 1. The mean scores of interpersonal communication competencies for undergraduate students were at high level in motivation, knowledge and skill. 2. A developed non-formal education program was consisted of 8 processes: 1) identification of the basis for programming, 2) situational analysis of community and clientele, 3) identification of desired outcomes, 4) identification of resources and support, 5) design of an instructional plan, 6) program of action, 7) accountability of resources, and 8) communication of the value of the program; and 12 components: 1) rational criterion, 2) objectives, 3) content, 4) learners qualification, 5) facilitators qualification, 6) learning method, 7) learning process, 8) learning technique, 9) resources and materials, 10) learning evaluation, 11) learning environment, and 12) learning outcomes. The results showed that the samples have motivation, knowledge and skills significantly higher than the one before the experiment by 0.05 point. 3. The application guidelines of a developed non-formal education program were consisted of three components: facilitator qualifications, program management, and creating involvement of stakeholders. Factors affecting the success of program application include learners, teams, and cultural context. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.715
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การศึกษานอกระบบโรงเรียน
dc.subject การสื่อสารระหว่างบุคคล
dc.subject การวิเคราะห์การสื่อสารระหว่างบุคคล
dc.subject Non-formal education
dc.subject Interpersonal communication
dc.subject Transactional analysis
dc.title การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษา en_US
dc.title.alternative Development of a non-formal education program to enhance interpersonal communication competencies for undergraduate students en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline การศึกษานอกระบบโรงเรียน en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.715


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record