DSpace Repository

กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดวงกมล บางชวด
dc.contributor.author ชยานนท์ ภาคีวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-05-03T04:15:06Z
dc.date.available 2021-05-03T04:15:06Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73223
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ของกลุ่มจิตอาสา 2) เพื่อนำเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา กลุ่มตัวอย่างคือ บ้านชาเลม บ้านพักฉุกเฉิน, สำนักงานคุ้มครองเด็ก สภาคริสตจักรในประเทศไทย, สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย แผนกเยาวชน และฝ่ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น ได้แก่ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูล ผลของการวิจัยพบว่ากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา มีทั้งหมด 4 กระบวนการคือ 1) การตอบสนองต่อสถานการณ์สังคมที่เกิดขึ้น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือให้เกียรติต่อผู้อื่นมีค่าเฉลี่ย 4.37 2) การกำหนดวิธีการเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือเห็นความสำคัญของการมีเครือข่ายการทำงานระหว่างกลุ่มจิตอาสามีค่าเฉลี่ย 4.28 3) กระบวนการเสริมสร้าง จิตสาธารณะ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดคือสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม เช่น กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า กิจกรรมรณรงค์ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น มีค่าเฉลี่ย 3.98 4) การเปลี่ยนแปลง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดคือเห็นความสำคัญของการทำจิตสาธารณะมากขึ้นมีค่าเฉลี่ย 4.22 และยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างจิตสาธารณะคือครอบครัว ตั้งแต่ก่อนเข้าร่วมกลุ่มจิตอาสา นอกจากนี้พบว่าสื่อโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคปัจจุบัน มีบทบาทสำคัญอีกด้วย การนำเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา มีประเด็นที่สำคัญ คือ การสอนบุตรด้วยความรัก, การรู้จักใช้คำพูดที่สื่อสารเชิงบวก และการประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง ของการมีจิตสาธารณะ, มีการป้องกันสื่อด้านลบ, การอบรมเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์แก่สมาชิก การมีบุคคลผู้ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่โซเชียลมีเดียของกลุ่มจิตอาสาเพื่อคัดกรองข้อมูลที่ไม่ดีก่อนที่สมาชิกจะได้อ่าน และนำเสนอข้อมูลที่เป็นด้านบวก และการเสริมสร้างจิตสาธารณะผ่านคำสอนทางศาสนา en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to 1) Analyze the learning process to promote public mind of volunteer groups. 2) For introduce the learning process to promote public mind of volunteer groups. Sample groups were represented from these following foundations: Shalem House, Emergency Home, The Office of Child Protection, The Church of Christ in Thailand, The Catholic Bishops’ Conference of Thailand, Youth Division and Social Affairs Division, and The Roman Catholic Archdiocese of Bangkok. Two research methods were applied; by questionnaire and by in-depth interview. Data analyses were divided into two phases. The first phase was done based on preliminary statistical analyses; mean scores. The second phrase was analyzed on content analysis, data classification, and data comparison. The research results revealed that the learning process to promote public mind of volunteer groups consisted of 4 processes as follows. 1) Interaction with current social situations: The highest average is ‘to respect others’, with an average score of 4.37. 2) Determining methods to enhance public consciousness: The highest average is ‘give important for working network between volunteer groups, with an average score of 4.28. 3) A method to build up public consciousness: The highest average was ‘their interest in participating in social-problem-solving activities’, with an average score of 3.98. 4) Revolution: The highest average is ‘they see the importance of public consciousness’, with an average score of 4.22, and found that the factor that was mostly affected in developing public mind is ‘family’ before involved in the group. Social media and communication technology in the current era play an important factor too. The Introduce the learning process to promote public mind of volunteer groups the important topic are to teachs children by love, to know to use positive word and to practice to be an example of public mind. To control negative media, to training about ‘Knowingly Media’ for members and to have ‘Admin’ to secue social media’s space of volunteer groups for scaning negative media before members will read and introduce positive media and promote public mind by Religion’s teaches. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1018
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject จิตสาธารณะ
dc.subject การเรียนรู้
dc.subject Public mind
dc.subject Learning
dc.title กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา en_US
dc.title.alternative Learning process to promote public mind of volunteer groups en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline พัฒนศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1018


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record