DSpace Repository

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับนิสิต นักศึกษาครู ในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author อุทุมพร จามรมาน
dc.contributor.author ปทีป เมธาคุณวุฒิ
dc.contributor.author สุวิมล ว่องวาณิช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-06-30T10:23:21Z
dc.date.available 2008-06-30T10:23:21Z
dc.date.issued 2540
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7324
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจและจัดลำดับความสำคัญของสาระที่จำเป็นสำหรับนิสิตนักศึกษาครูในสังคมเทคโนดลยีสารสนเทศ (2) เพื่อพัฒนาสาระดังกล่าวให้กับนิสิตนักศึกษาครูระดับปริญญาตรี ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด (3) เพื่อสร้างแบบจำลองการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สาระที่จำเป็นดังกล่าว และ (4) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแบบจำลองดังกล่าว การวิจัยนี้ได้สำรวจสาระที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารรู้เรื่อง การคิด การกล้าแสดงออก การค้นหาข่าวสาร การจดบันทึก การจำ สมาธิ การดูแลสุขภาพของตน ภาษาอังกฤษและการใช้คอมพิวเตอร์ จากนิสิตนักศึกษาครูในสถาบันการศึกษาที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 3 (1, 200 คน จากประชากร 72,274 คน) ในปีการศึกษา 2539 และได้ส่งแบบสอบถามความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของสาระดังกล่าวให้กลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ได้รับแบบสอบถามคืนมา ร้อยละ 98.33 ได้วิเคราะห์เฉพาะที่สมบูรณ์ จำนวน 1.103 ฉบับ (ร้อยละ 91.91) ผลการสำรวจเรียงลำดับจากความถี่สูงสุดถึงน้อยสุดคือ (1) การสื่อสารรู้เรื่อง (2) การคิดเป็นระบบ (3) การจำ (4) การจดบันทึก (5) คอมพิวเตอร์ (6) ภาษาอังกฤษ (7) การดูแลสุขภาพของตนเอง (8) สมาธิ (9) การกล้าแสดงออก (10) การค้นหาข่าวสาร ได้นำสาระดังกล่าวมาประมวลเป็นแบบฝึกได้ 7 รายการ คือ (1) การฟัง พูด อ่าน เขียน คิด จำ จด (2) การคิดเป็นระบบ (3) การค้นหาข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ภาษาไทยและอังกฤษ (4) การกล้าแสดงออก (5) สมาธิ (6) การดูแลสุขภาพอนามัยตนเอง และ (7) การใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ได้ออกแบบฝึกและทำการฝึกกับนิสิตปีที่ 3 ของสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 21 คน และนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 16 คน ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 รวม 8 ครั้งๆ ละ 6 ชั่วโมง รวม 48 ชั่วโมง ผลการฝึกซึ่งได้จากการสังเกต การทดลอง การวิเคราะห์ผลงานที่นิสิตนักศึกษาทำ สรุปได้ว่า นิสิตนักศึกษาทั้งสองแห่งมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้ก่อนการฝึก หลังจากการทดลองฝึกตามแบบที่กำหนดแล้ว ได้รวบรวมข้อมูลมาจัดทำต้นแบบการฝึกทักษะแต่ละอย่าง และให้คณะอาจารย์ของคณะครุศาสตร์ และสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นแบบการฝึกที่เป็นไปได้ สรุปได้คือ (1) ต้นแบบการฝึกทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน คิด จำ จด ใช้ฝึกจากการให้จับใจความจากการฟัง การพูดสรุป การอ่าน การเขียนสรุปประเด็น พูดหน้าห้อง ฝึกสมาธิ และฝึกจำ (2) ต้นแบบการฝึกคิดเป็นระบบ ใช้การระบุขั้นตอนการคิก การเขียนสรุปประเด็น การพูดสรุป การฟังจับใจความ และการฝึกจำแบบต่างๆ (3) ต้นแบบการฝึกค้นหาข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ภาษาไทยและอังกฤษ ใช้การอ่านเร็วๆ และอ่านเพื่อความเข้าใจ เขียนสรุปประเด็น และการดูภาพต่างๆ ในหนังสือพิมพ์ (4) ต้นแบบการฝึกความกล้าแสดงออก ใช้การโต้วาที การพูดหน้าห้อง และการแสดงบทบาทสมมุติ (5) ต้นแบบการฝึกสมาธิ ใช้การฝึกสมาธิโดยมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำ (6) ต้นแบบการดูแลสุขภาพอนามัยตนเอง ใช้การตรวจสุขภาพและการใช้ข้อมูลผลการตรวจสุขภาพรายบุคคล en
dc.description.abstractalternative This research had four objectives-(1) to survey and rank information needed to prepare student-teachers for the information technology society, (2) to train them, (3) to construct the learning process model, and (4) to test the model. The constructed questionnaires consisted of information relates to communicative skills, systematic thinking, information searching skills, note-taking ability, memorizing ability concentration, self-health care. English language, and computer usage skill, were distributed to 1200 student - teacher throughout the country. The 1103 returned and completed questionnaires were analyzed. The survey results besides teaching skills were reported from top ranking as follows: (1) communicative skills (2) systematic thinking (3) memorizing ability (4) note-taking ability (5) computer usage skills (6) English language (7) self-health care (8) concentration (9) public appearance (10) information searching skills The training package was designed. It was consisted of exercise book, lecturenote, various training activities of 7 information-groups-(1) skills in listening, speaking, reading, writing, thinking, memorizing, and note taking, (2) systematic thinking (3) information searching from Thai and English newspapers, (4) public appearance, (5) concentration, (6) self-healthcare, (7) technology and computer usage. The training was conducted to two groups of third year student-teachers of the Faculty of Education. Chulalongkorn University and Rajapat Institute of Rachaburi Province. The training process lasted 48 hours during January-February, 1997. The training results indicated significant improvement of both groups. The training process was synthesized into 7 sub-models and tested by reactions of instructors from both institutions. The seven sub-models were reported as follows: 1. The model to develop skills in listening, speaking, reading, writing, thinking, memorizing and note-taking was the training for skills in grasping schemata from those, ability to appear in public, concentration and memory skills practice. 2. The model to develop systematic thinking was the training to identify steps in thinking, ability in summarizing schemata from writing, reading, listening (3) the model to develop information and news extracted form both English and Thai newspapers was the training for skimming and picking up important ideas, comprehensive reading as well as taking-note. Pictures from newspaper also helped. 4. The model to develop ability for public appearing was the application of the debating technique and role playing, the opportunity to speak in front of class was also a good technique. 5. The model to develop skills in concentration was the practice supervision of experts. 6. The model to develop self-health care was the immediate feedback of physical check-up results. 7 The model to develop technology and computer skills was the practice with computer in real or simulated situations. en
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2540 en
dc.format.extent 8167950 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การเรียนรู้ (จิตวิทยา) en
dc.subject เทคโนโลยีสารสนเทศ en
dc.subject เทคโนโลยีสารสนเทศ en
dc.title การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับนิสิต นักศึกษาครู ในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ : รายงานการวิจัย en
dc.title.alternative Development of learning process needed for training student teachers in the information technology society en
dc.type Technical Report es
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author Pateep.M@Chula.ac.th
dc.email.author wsuwimon@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record