DSpace Repository

แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์แนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ
dc.contributor.advisor สุวิมล ว่องวาณิช
dc.contributor.author สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-05-05T04:35:17Z
dc.date.available 2021-05-05T04:35:17Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73260
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract สมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัล (ERCDA) เป็นตัวแปรพหุมิติระหว่างสมรรถนะวิจัยและสมรรถนะดิจิทัล ที่ผ่านมามี การพัฒนาเครื่องมือสำหรับวัด ERCDA แบบแยกสมรรถนะจำนวนมากซึ่งนอกจากจะใช้ข้อคำถามจำนวนมากแล้วยังไม่สามารถวัดความเป็นพหุ มิติของ ERCDA ได้อีกด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุค ดิจิทัลของผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาตามแนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ (2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุค ดิจิทัลของผู้เรียนที่มีภูมิหลังด้านการวิจัยแตกต่างกัน (3) เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับ ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาตามแนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ ตัวอย่างวิจัยเป็นนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์ แบ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนาโมเดลและเครื่องมือวัด 360 คน ขั้นตอนการวัดสมรรถนะ 415 คน เก็บข้อมูลโดยการสำรวจแบบปรับเหมาะด้วย คอมพิวเตอร์ผ่าน www.shinyApps.io ที่สร้างจาก mirtCAT R package และพัฒนาโดย ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ (2562) ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลแบบพหุมิติภายในข้อคำถามมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ χ2 (90, N = 360) = 95.93, p = .03, DIC = 23143.03, BIC = 23656.06 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ ด้านสมรรถนะวิจัยอยู่ในช่วง .14 - .45 ตัวบ่งชี้ด้านสมรรถนะดิจิทัลอยู่ในช่วง .02-.59 ( .10 =R² =< .41) 2) ผลการเปรียบเทียบพหุตัวแปรสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนที่มีสาขาวิชาต่างกันมีพหุ ตัวแปรสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F (18, 758) = 17.76, p < .001) มีขนาด อิทธิพลอยู่ในระดับสูง (ηp² = .30) ส่วนขนาดอิทธิพลของแต่ละตัวบ่งชี้รวม 9 ตัว อยู่ในช่วงระหว่าง (ηp² = .02-.19, ŵp² = .01-.18) ผู้เรียน สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษามีสมรรถนะวิจัยและสมรรถนะดิจิทัลด้านการประเมินและการบริหารจัดการสูงกว่าทุกสาขาวิชาวิชาอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนทุกกลุ่มมีสมรรถนะวิจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกต่ำกว่าด้านอื่น ๆ 3) แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา (1) ผู้เรียนทุกกลุ่ม สาขาวิชาควรได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะวิจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเป็นอันดับแรก (2) ผู้เรียนสาขาอื่น ๆ ควรได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะ วิจัยและสมรรถนะดิจิทัลในทุกด้าน และ (3) สามารถนาแนวคิดการจัดกระทำแบบปรับเหมาะมาออกแบบการสอนให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียน en_US
dc.description.abstractalternative As suggested by its name, the educational research competency in digital age (ERCDA) is a combination of educational research competency and digital competency. Many instruments have been developed to measure these competencies; however, they measure each set of competencies separately. Such measurements not only yield a lengthy list of questions, but also ignore the multidimensionality nature of ERCDA. This study, therefore, aims to 1) develop a measurement model and instrument to measure graduate students’ ERCDA using the concepts of multidimensional-within-items and adaptive design to overcome the lengthy questionnaire issue, 2) to compare ERCDA of graduate students with different research backgrounds, and 3) to develop guidelines for enhancing graduate students’ ERCDA using the concept of adaptive design approach. Participants in this study were 360 graduate students for the development of measurement, and 415 graduate students for the ERCDA comparison study. All data were collected by means of the adaptive survey on www.shinyApps.io, using mirtCAT package in R and applying codes from Piromsombat (2019). The key findings were as follows: 1) The multidimensional-within-items measurement model of ERCDA acceptably fit the empirical data (χ2 (90, N = 360) = 95.93, p = .03, DIC = 23143.03, BIC = 23656.06).The factor loadings of research competency indicators ranged between .14-.45, while those of digital competency indicators ranged between .02-.59 (.10=2 =<.41). 2) The sample graduate students with different majors had significantly different levels of ERCDA (F (18, 758) = 17.76, p < .001, ηp 2 =.30). They also showed significantly different levels in all subdimensions of ERCDA (ηp 2 = .02-.19, ŵp 2 = .01-.18). Specifically, graduate students majoring in research methodology had higher levels of research competency, access, and manage dimensions of digital competency than those majoring in educational technology and other fields. Unexpectedly, all students had very low levels of affective dimension of research competency. 3) Guidelines for enhancing the graduate students’ ERCDA include, for example, (1) enhancing the affective dimension of research competency for all students regardless of their fields, (2) helping students from other fields (neither research methodology nor educational technology) to improve research competencies and digital competencies in all dimensions by include research and technology courses in their program, and (3) the adaptive treatment concept can also be used to design courses and learning experiences that satisfy graduate students’ needs in ERCDA. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1173
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การศึกษา -- วิจัย
dc.subject การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์
dc.subject Education -- Research
dc.subject Computer adaptive testing
dc.title แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์แนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ en_US
dc.title.alternative Guidelines for enhancing graduate students’ educational research Competency in digital age : application of adaptive design approach en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chayut.P@chula.ac.th
dc.email.advisor Wsuwimon@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1173


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record