DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก

Show simple item record

dc.contributor.advisor เนาวนิตย์ สงคราม
dc.contributor.author อดิศักดิ์ นารถธนะรุ่ง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:55:16Z
dc.date.available 2021-09-21T06:55:16Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76683
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ 3) ศึกษาผลและเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ 4) นำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาแพทย์โครงการร่วมผลิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2563 ที่กำลังศึกษาอยู่ในศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกของโรงพยาบาลจังหวัด จำนวน 45 คน มีระยะเวลาการทดลองทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่ม คือกลุ่มเรียนแบบปกติและกลุ่มเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือแบบวัดทักษะการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ซึ่งจะประเมินทักษะในกระบวนการวินิจฉัย 4 ทักษะ คือ การเลือกข้อมูลสำคัญ การกำหนดปัญหาสำคัญ การวินิจฉัยแยกโรค และการวินิจฉัยโรค ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีคะแนนเฉลี่ยของการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์หลังเรียนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยของการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
dc.description.abstractalternative The aim of this research was to develop a blended learning instructional model to enhance clinical diagnosis reasoning skill of clinical-year medical students. The objectives were 1) to survey and analyze teaching and learning situation in clinical diagnosis class 2) to develop a blended learning instructional model for clinical diagnosis teaching 3) to study the results of the blended learning for clinical diagnosis 4) to compare the learning results between traditional and blended learning. The sample group of this research was forty-five fifth-year medical students of Faculty of Medicine, Naresuan University, who were studying at the Medical Education Center of the Provincial Hospital, with the research period for 12 weeks. This research was two groups of quasi-experimental study: traditional learning group and blended learning group. The data collection tool was the diagnosis clinical reasoning self-assessment test which evaluates four skills following clinical diagnosis process: data selection, problem representation, differential diagnosis and diagnosis. In accordance with the result showed blended learning was able to promote diagnosis reasoning skill at .05 level of significance. It was also more effective than traditional learning at .05 level of significance.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.506
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
dc.subject การวินิจฉัยโรค
dc.subject นักศึกษาแพทย์
dc.subject Instructional systems -- Design
dc.subject Diagnosis
dc.subject Medical students
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก
dc.title.alternative Development of a clinical diagnosis instructional model with blended learning to enhance clinical diagnosis reasoning in clinical-year medical students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.506


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record