DSpace Repository

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุกัญญา แช่มช้อย
dc.contributor.author อิฏฐิรา ทรงกิติพิศาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:55:22Z
dc.date.available 2021-09-21T06:55:22Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76691
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาและแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ 2) ศึกษาระดับสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multi – phase Mixed Method Design Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 341 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานหลักสูตร ครูผู้สอน และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 งาน ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร (3) การวัดและประเมินผล และ (4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ กรอบแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 3 สมรรถนะหลัก 11 สมรรถนะย่อย ได้แก่ (1) สมรรถนะเชิงความสัมพันธ์ ประกอบด้วย 4 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การมีจริยธรรมและความซื่อสัตย์ การมีความฉลาดทางอารมณ์และความรอบรู้ในตนเอง การยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม และการเป็นนักต่อรองที่มีประสิทธิภาพ (2) สมรรถนะเชิงงาน ประกอบด้วย 4 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การสร้างนวัตกรรม การมีความสามารถทางสติปัญญา การมุ่งเน้นการปรับปรุง และการบริหารองค์การ  และ (3) สมรรถนะการกำหนดภาพอนาคตที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 3 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ การทำงานเชิงรุก และการกล้าเสี่ยง 2) ระดับสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา พบว่า สมรรถนะเชิงความสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในสมรรถนะย่อยเรื่องการยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม ส่วนสมรรถนะการกำหนดภาพอนาคตที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในสมรรถนะย่อยเรื่อง การกำหนดวิสัยทัศน์ 3) จุดแข็งของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ คือ การจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จุดอ่อน คือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผล และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและแหล่งเรียนรู้  โอกาส คือ สภาพเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ สภาพการเมืองและนโยบายของรัฐ สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคม 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พลิกโฉมหลักสูตรสร้างสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ มี 2 กลยุทธ์รอง (2) ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรสร้างสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ มี 2 กลยุทธ์รอง (3) พลิกโฉมการวัดและประเมินผลสร้างสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ มี 2 กลยุทธ์รอง และ(4) พลิกโฉมการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และแหล่งเรียนรู้เสริมสร้างสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ มี 2 กลยุทธ์รอง
dc.description.abstractalternative This research aimed to 1) study the conceptual framework of academic management in secondary schools and the concept of entrepreneurial leadership competencies; 2) study the levels of entrepreneurial leadership competencies of secondary school students; 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats of academic management in secondary schools based on the concept of entrepreneurial leadership competencies; and 4) develop academic management strategies in secondary schools based on  the concept of entrepreneurial leadership competencies. Multi – phase mixed method design research was used. The quantitative and qualitative data was collected altogether. The samples included 341 secondary schools under Office of the Basic Education Commission. The informants included school executives, curriculum supervisor, teachers, and students. The instruments included the questionnaire and the assessment form. The statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, SD, PNImodified, and content analysis from the focus group. The findings revealed that 1) the conceptual framework of academic management in secondary schools included 4 jobs, i.e, (1) curriculum development; (2) instruction management and extra-curricular activity management; (3) measurement and evaluation; and (4) the development of media, innovation, technology for education, and learning sources. For the concept of entrepreneurial leadership competencies, it included 3 core competencies and 11 sub-competencies as follows. (1) relational-oriented competencies included 4 sub-competencies, i.e., having ethics and integrity, having emotional intelligence and personal mastery, having a global mindset, and being an effective bargainer. (2) Task-oriented competencies included 4 sub-competencies, i.e., innovativeness, having intellectual versatility, improvement-oriented, and organizational savvy. And (3) scenario enactment competencies included 3 sub-competencies, i.e.,ability to identify and articulate a vision, proactiveness, and risk taking. 2) For the levels of entrepreneurial leadership competencies of secondary school students, it was found that the mean of relational-oriented competencies was highest, for the sub-competency of “having a global mindset.” The mean of scenario enactment competencies was lowest, for the sub-competency of “ability to identify and articulate a vision.” 3) The strength of academic management in secondary schools based on the concept of entrepreneurial leadership competencies was instruction management and extra-curricular activity management. The weaknesses included curriculum development; measurement and evaluation; and the development of media, innovation, technology for education, and learning sources. The opportunity was technological state. Threats included political state, government policies, economic state, and social state. 3) Academic management strategies in secondary schools based on the concept of entrepreneurial leadership competencies included 4 key strategies. (1) Make over the course of creating entrepreneurial leadership competencies included 2 minor strategies. (2) Drive instruction management and manage an extra-curricular activity for creating entrepreneurial leadership competencies included 2 minor strategies. (3) Make over measurement and evaluation of creating entrepreneurial leadership competencies included 2 minor strategies. And (4) Make over the development of media, innovation, technology for education, and learning sources for creating entrepreneurial leadership competencies included 2 minor strategies.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.853
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การบริหารการศึกษา
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject High schools -- Administration
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ
dc.title.alternative Secondary schools academic management strategies based on the concept of entrepreneurial leadership competencies
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline บริหารการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.853


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record