DSpace Repository

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม

Show simple item record

dc.contributor.advisor นันทรัตน์ เจริญกุล
dc.contributor.author ฐิติพร แต่งพลกรัง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:55:29Z
dc.date.available 2021-09-21T06:55:29Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76700
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยใช้กรอบการบริหารวิชาการร่วมกับกรอบการศึกษาแบบเรียนรวม ผู้ให้ข้อมูล โรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 52 โรงเรียน แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 52 คน ครู จำนวน 59 คน และนักเรียน จำนวน 93 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความครอบคลุมและความเหมาะสม (Item Objective Congruence: IOC) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โส่วนสภาพอันพึงประสงค์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.513)  2) โดยตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมด้านที่มีความต้องการจำเป็นพัฒนาสูงที่สุด คือ ด้านนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษและนักเรียนทั่วไปทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางวิชาการ ทักษะการสื่อสารและทักษะทางสังคมดีขึ้นนักเรียนชอบไปโรงเรียนและมีความพึงพอใจในครูผู้สอนมากขึ้น รวมทั้งมีแรงจูงใจในการทำงานการเรียนและทัศนคติเชิงบวกมากขึ้น แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม ที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง 
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the current and desirable states and need analysis of developing academic management of tutorial schools in Bangkok based on the concept of Inclusive Education using the frameworks of academic administration and  Inclusive Education. Informants were obtained from simple random sampling: from 52 tutorial schools in Bangkok 52 administrators, 59 teachers and 93 students, 204 informants in total verified by 5 experts. The instrument used in this research was a 5 rating-scaled questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and Priority Needs Index (PNImodified). The research results revealed that: 1) the current state of the developing academic management of tutorial schools in Bangkok based on the concept of Inclusive Education, overall, was at the moderate level, with the highest mean on curriculum development. As for the desirable state .overall, was at the highest level, with the highest mean on learning management. For the Modifed Priority need index for developing academic management of tutorial schools in Bangkok based on the concept of Inclusive Education, it turned out that the highest PNI_modified was on measurement and evaluation (PNImodified = 0.513) 2) There were 3 main approaches.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.864
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject โรงเรียนกวดวิชา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subject ระบบการเรียนการสอน
dc.subject การบริหารการศึกษา
dc.subject Cram schools -- Thailand -- Bangkok
dc.subject Instructional systems
dc.subject.classification Psychology
dc.title แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม
dc.title.alternative Developing academic management of tutorial schools in Bangkok base on the concept of inclusive education
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline บริหารการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.864


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record