DSpace Repository

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ
dc.contributor.author ยุทธนา ปัญญา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T07:00:09Z
dc.date.available 2021-09-21T07:00:09Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76728
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี จำนวน 1 กลุ่ม ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม มีนักเรียนจำนวน 33 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 100 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความเข้าใจในการอ่าน แบบวัดความผูกพันกับการอ่าน แบบบันทึกความผูกพันกับการอ่าน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ มีองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ คือ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เนื้อหาสาระและสื่อที่ใช้ ประกอบด้วยสถานการณ์การอ่าน 4 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์สาธารณะ สถานการณ์ส่วนตัว สถานการณ์การศึกษา และสถานการณ์การงานอาชีพ มีบทเรียนที่ใช้จำนวน 8 บทเรียน 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นทำความเข้าใจภาระงาน ขั้นปฏิบัติกิจกรรมการอ่าน ขั้นสะท้อนผลการทำงาน และขั้นเปลี่ยนผ่านสู่สถานการณ์ใหม่ และ 4) การวัดและประเมินผล ดำเนินการวัดและประเมินผลการรู้เรื่องการอ่านก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบวัดความเข้าใจการอ่าน และแบบวัดความผูกพันกับการอ่าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ พบว่า 1) การรู้เรื่องการอ่านในภาพรวมของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) การรู้เรื่องการอ่านจำแนกเป็นรายองค์ประกอบของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.description.abstractalternative This research is aimed 1) to develop a learning with WebQuest and QAR strategy to enhance reading literacy of lower secondary school students, and 2) to investigate the effectiveness of the learning with WebQuest and QAR strategy. Thirty-three participants of the study were recruited using cluster – random sampling from Mathayom 2 students in a medium – sized school in Ratchaburi. The participants were treated with lessons which was divided into 8 weeks with 100 minutes for each week. The research tools included WebQuest and QAR strategy, reading comprehensive test, reading engagement test, reading engagement logbook, and lesson plan. Mean, standard deviation, and t – test independent were calculated for the statistical analysis. The results of this research indicated as follows: 1. The developed learning with WebQuest and QAR strategy have four elements of learning management. The first one was the lesson objective which is to enhance reading literacy of lower secondary school students. The second element is the content and media used which contains eight lessons of four reading situations categorized by the purposes including (1) public situation, (2) personal situation, (3) educational situation, and (4) occupational situation. The third element is class organization which includes five stages; (1) stimulation, (2) task comprehension, (3) reading activity, (4) reflection, and (5) transition to new situation. The final element is the evaluation which the reading comprehensive test, and reading engagement test were used both before, and after the lessons. 2. The results reveal the effectiveness of the learning with WebQuest and QAR strategy that (1) Students’ reading literacy in overall after the lessons had increased at the significant level at .01, and (2) Students’ reading literacy in each element after the lessons had increased at the significant level at .05
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1283
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การเรียนการสอนผ่านเว็บ
dc.subject ความเข้าใจในการอ่าน
dc.subject การอ่านขั้นมัธยมศึกษา
dc.subject Web-based instruction
dc.subject Reading comprehension
dc.subject Reading (Secondary)
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternative Development of learning with WebQuest and QAR strategy to enhance reading literacy of lower secondary school students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1283


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record