DSpace Repository

การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกับแนวคิดการบำบัดด้วยการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor จินตนา สรายุทธพิทักษ์
dc.contributor.advisor กมลวรรณ ตังธนกานนท์
dc.contributor.author โสภา ช้อยชด
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T07:00:13Z
dc.date.available 2021-09-21T07:00:13Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76737
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) พัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกับแนวคิดการบำบัดด้วยการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 4) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกับแนวคิดการบำบัดด้วยการ ออกกำลังกายเพื่อลดภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4,089 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า (PHQ-A) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์อิทธิพลโดยใช้โปรแกรม Mplus ส่วนการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยด้านตนเอง ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านเพื่อน/คนรัก และปัจจัยด้านสังคม 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 97.630, p-value = .088, CFI = 0.999, TLI = 0.997, RMSEA = 0.009, SRMR = 0.014) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านตนเองและปัจจัยด้านครอบครัว ส่วนปัจจัยด้านเพื่อน/คนรักและปัจจัยด้านสังคมส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 กิจกรรม ซึ่งมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าหลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 1 เดือน น้อยกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าหลังการทดลอง 1 เดือน น้อยกว่า หลังการทดลองทันทีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to: 1) develop a causal model of depression of lower secondary school students, 2) examine the goodness of fit of the model with empirical data, 3) develop a behavior modification program applying problem-solving therapy with exercise therapy to reduce depression levels among lower secondary school students, and 4) determine the effectiveness of a behavior modification program applying problem-solving therapy with exercise therapy to reduce depression levels among lower secondary school students. Samples were 4,089 lower secondary school students. The Depression Causes Questionnaire (DCQ) and the Thai version of the Patient Health Questionnaire for Adolescents (PHQ-A) were employed to collect the data. Data were analyzed using descriptive statistics and confirmatory factor analysis by Mplus. Program effectiveness was assessed using 16 lower secondary school students. Data were analyzed using descriptive statistics and repeated measures ANOVA. The results were as follows: 1) The causal model of depression of lower secondary school students consisted of 4 components, i.e., self-factor, family factor, friendship and romantic intimacy factor, and social factor. 2) The causal model of depression of lower secondary school students fitted with the empirical data (chi-square = 97.630, p-value = .088, CFI = 0.999, TLI = 0.997, RMSEA = 0.009, SRMR = 0.014). The self-factor and family factor had statistically significant influence on depression among lower secondary school students, whereas the friendship and romantic intimacy factor along with social factor did not have a statistically significant influence on depression among lower secondary school students. 3) The developed program consisted of eight activities. The program was rated in the most suitable level. 4) Repeated measures ANOVA revealed that the program significantly decreased depression levels at post-treatment and at one-month follow-up.     
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1261
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การปรับพฤติกรรม
dc.subject การรักษาด้วยการออกกำลังกาย
dc.subject จิตบำบัดแบบความคิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
dc.subject ความซึมเศร้า
dc.subject Behavior modification
dc.subject Exercise therapy
dc.subject Cognitive therapy
dc.subject Depression, Mental
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกับแนวคิดการบำบัดด้วยการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternative Development of a behavior modification program applying problem-solving therapy with exercise therapy to reduce depression levels among lower secondary school students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline สุขศึกษาและพลศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1261


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record