DSpace Repository

ผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายโดยใช้การเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตและสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor จินตนา สรายุทธพิทักษ์
dc.contributor.author นิศารัตน์ ธีระวัฒนประสิทธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T07:00:24Z
dc.date.available 2021-09-21T07:00:24Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76755
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายโดยใช้การเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตและสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ได้จากการรับสมัครนักเรียนที่สนใจ จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยวิธีการจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมกิจกรรมทางกายโดยใช้การเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ ประกอบด้วย 8 กิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.98 แบบวัดสุขภาวะทางจิตมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.96 ค่าความเที่ยง 0.95 และแบบวัดสุขภาวะทางสังคม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.81 ค่าความเที่ยง 0.96 ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสุขภาวะทางจิตและสังคมหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสุขภาวะทางจิตและสังคมหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study the effects of physical activity program by applying social and emotional learning for promoting mental health and social well-being of lower secondary school students. The subjects consisted of 60 lower secondary school students, divided into 2 groups, 30 students in the experimental group, and 30 students in the control group. They were divide into two groups; using matching method. The research instruments are the physical activity program by applying social and emotional learning consisting of eight activities with IOC 0.98, the mental assessment form with IOC 0.96, reliabilities 0.95, and the social well-being assessment form with IOC 0.81, reliabilities 0.96 The research period was 8 weeks, 3 days a week, 1 hour per day. The data was analyzed by mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1) The mean scores of mental and social well-being of the experimental group students after the experiment were significantly higher than before at the .05 levels. 2) the mean scores of mental and social well-being of the experimental group students after the experiment were significantly higher than the control group at the .05 level.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1277
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การออกกำลังกาย -- โปรแกรมกิจกรรม
dc.subject การเรียนรู้ทางสังคม
dc.subject สุขภาวะ
dc.subject Exercise -- Activity programs
dc.subject Social learning
dc.subject Well-being
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายโดยใช้การเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตและสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternative Effects of physical activity program by applying social and emotional learning to promote mental health and social well-being of lower secondary school students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สุขศึกษาและพลศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1277


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record