DSpace Repository

การวิเคราะห์และควบคุมปัจจัยที่มีผลกระทบทางคุณภาพ สำหรับอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
dc.contributor.author เฉลิมพล ลีลาผาติกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2008-07-29T03:04:15Z
dc.date.available 2008-07-29T03:04:15Z
dc.date.issued 2540
dc.identifier.isbn 9746384007
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7692
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 en
dc.description.abstract กำหนดและควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของยางรถยนต์ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบในกระบวนการผลิต (Failure Mode and Effects Analysis, FMEA) มาใช้วิเคราะห์และควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิตยางรถยนต์ โดยเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตและค้นหาปัจจัย ที่มีผลกระทบต่อข้อบกพร่องทุกขั้นตอนการผลิต โดยอาศัยแผนภาพแสดงเหตุและผล แผนภาพความสัมพันธ์และแผนภาพต้นไม้ เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อข้อบกพร่องเหล่านั้น จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตนั้นมาวิเคราะห์ เพื่อประเมินค่าความรุนแรงของข้อบกพร่อง การเกิดข้อบกพร่อง และการควบคุมกระบวนการ เพื่อคำนวณหาค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (Risk Priority Number หรือ RPN) ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงความเสี่ยงที่จะเกิดข้อบกพร่อง โดยค่า RPN ยิ่งมีค่ามากหมายถึง มีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อบกพร่องสูง โดยทั่วไปค่า RPN จะมีค่าอยู่ระหว่าง 1 ถึง 1,000 คะแนน ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเน้นการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีค่าดัชนีความเสี่ยง ตั้งแต่ 100 คะแนนขึ้นไป (Stamatis, 1995:39) การวิเคราะห์และควบคุมปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของยางรถยนต์นี้ จะเริ่มจากการพิจารณาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การผสมยางจนเป็นยางรถยนต์สำเร็จรูป โดยอาศัยการระดมสมองแล้วหาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้น ซึ่งผลการแก้ไขมีทั้งการจัดทำแผนภูมิการตรวจสอบ การจัดทำรายละเอียดและการตั้งค่ามาตรฐานในการทำงานของเครื่องจักร ฯลฯ ซึ่งผลการดำเนินการแก้ไขทำให้จำนวนของยางเสีย ในยางรถยนต์นั่งเรเดียลลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 1.009% เหลือ 0.392% ส่วนยางรถบรรทุกไบแอส ลดลงจาก 0.025% จนไม่มียางเสียเลย หลังจากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนความรุนแรงของข้อบกพร่อง การเกิดขึ้นของข้อบกพร่องและการควบคุมกระบวนการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคำนวณหาค่า RPN ใหม่ หลังจากการควบคุมข้อบกพร่องแล้ว พบว่าค่า RPN ใหม่ลดลงจากค่า RPN เดิม 50%-90% ซึ่งหลังจากการแก้ไขจนลดข้อบกพร่องลงได้แล้ว ก็จัดทำแผนการควบคุม (Control Plan) เพื่อควบคุมปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพ และป้องกันข้อบกพร่องนั้นมิให้เกิดขึ้นซ้ำอีก โดยแผนการควบคุมนี้จะประกอบไปด้วย รายละเอียดของการทำงาน เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง จุดที่ต้องควบคุม ข้อกำหนดหรือค่าเผื่อต่างๆ การประเมินผล จำนวนตัวอย่างที่ต้องตรวจสอบ กระบวนการควบคุม และผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบ ตลอดจนแผนการแก้ไขหากเกิดข้อบกพร่องนั้นขึ้น en
dc.description.abstractalternative To determine and control the tyre quality factors by using failure mode and effects analysis. Failure mode and effects analysis (FMEA) is the quality tool used to analyze and control process of the tyre industry. First, the process is studied and the quality tools used to search for the quality factors of effectiveness of the tyre defects. The tools employed include causes and effects diagram, Relation diagram and tree diagram. After that, the tyre process specialists are asked to analyze and evaluate the severity, occurrence and detection of each defect to calcuate risk priority number (RPN). The value of RPN is between 1 to 1,000 points (the higher the RPN the higher the risk of defect occurrence). This thesis will mainly concentrate on the correction of defects with more than 100 points (Stamatis, 1995:39), Analysis and control of quality factors for the tyre starting with defect consideration each process from mixing to finish products. Check sheet, method study and machine setting is created by brainstroming to apply to solve the defect of each step. After the corrective action is made, the passenger radial tyre decrease continuously from 1.009% to 0.392% and truck bias tyre decreased from 0.025% to zero defect and the same group of tyre specialists evaluate the severity, occurrence and detection of each defect again. The new risk priority number (RPN) is lower than the prior one 50%-90%. The defects are controlled by control plan which consist of process and machine concerned, control point, product/process specification and tolerance, measurement technic, sample size, control method, person who is responsible for, and reaction plan to detect the defects which may be occured again. en
dc.format.extent 651595 bytes
dc.format.extent 291567 bytes
dc.format.extent 626286 bytes
dc.format.extent 1423342 bytes
dc.format.extent 1801070 bytes
dc.format.extent 984654 bytes
dc.format.extent 379195 bytes
dc.format.extent 3703907 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การควบคุมคุณภาพ en
dc.subject การควบคุมการผลิต en
dc.subject อุตสาหกรรมยางรถ -- การควบคุมคุณภาพ en
dc.subject อุตสาหกรรมยางรถ -- การควบคุมการผลิต en
dc.title การวิเคราะห์และควบคุมปัจจัยที่มีผลกระทบทางคุณภาพ สำหรับอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ en
dc.title.alternative Analysis and control of quality factors for the tyre industry en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Prasert.A@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record