DSpace Repository

การพัฒนาชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนิสิตฝึกหัดครู วิชาเอกคณิตศาสตร์ : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-02-17T10:22:44Z
dc.date.available 2022-02-17T10:22:44Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78081
dc.description กิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ -- กิจกรรมและชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ -- ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ -- ลักษณะของสถานการณ์และการจัดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ -- การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ -- ความหมายและความสำคัญของการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ -- ประเภทของการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ -- การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ -- การประเมินความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริม ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนิสิตฝึกหัดครู วิชาเอกคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนิสิตฝึกหัดครู วิชาเอกคณิตศาสตร์ เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็น เกี่ยวกับชุดกิจกรรมการสารวจเชิงคณิตศาสตร์ของนิสิตฝึกหัดครู วิชาเอกคณิตศาสตร์ ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรม การสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตฝึกหัดครู วิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2562 ชั้นปีที่ 2 3 และ 4 รวมจำนวน 12 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ จำนวน 6 กิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรม 1. ฉับ 2. เพลโต อาร์คิมีดีส และออยเลอร์ 3. ปูกระเบื้องแบบพิเศษ 4. กิ้งก่าเปลี่ยนสี 5. กบกระโดด และ 6. เดินๆ ถอยๆ แต่ละกิจกรรมใช้เวลา 3 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง มีเนื้อหาในกิจกรรมครอบคลุมสาระจำนวน และพีชคณิต การวัดและเรขาคณิต สถิติและความน่าจะเป็น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ฉบับระหว่างเรียน จำนวน 2 ฉบับ 2) แบบวัด ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ฉบับหลังเรียน จำนวน 1 ฉบับ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 85.19/86.11เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2. คะแนนความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนิสิตฝึกหัดครู วิชาเอกคณิตศาสตร์ ภายหลัง การใช้ชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 86.11 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมี นัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ นิสิตฝึกหัดครู วิชาเอกคณิตศาสตร์ มีความคิดเห็น เกี่ยวกับชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดี en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were: 1) to develop effectively the mathematical investigation activities that promote the mathematical reasoning ability of preservice mathematics teachers 2) to study the mathematical reasoning ability of preservice mathematics teachers after using the mathematical investigation activities by comparing with 75% of the total score and 3) to study the opinions of preservice mathematics teachers about the mathematical investigation activities after using the mathematical investigation activity. The samples were 12 students from the second-year, the third-year, and the fourth-year of preservice mathematics teachers, Faculty of Education, Chulalongkorn University in the second semester of academic year 2019. The research instruments of this study consisted of experimental instrument and data collection instrument. The experimental instrument were six mathematical investigation activities that promote the mathematical reasoning ability of preservice mathematics teachers which are 1. Single cutting 2. Plato Archimedes and Euler 3. Special tilling 4. Chameleon changes color 5. Leapfrog and 6. Forward backward. Each activity spent 3 hours of work and the total of work was 18 hours. The content included numbers and algebra, measurement and geometry, and statistics and probability. The data collection instruments were: 1) the two mathematical reasoning ability tests to assess during doing activity 2) the one mathematical reasoning ability test to assess after activity and 3) the questionnaire about the mathematical investigation activities. The statistics used for analyzing the collected data were mean, percentage, standard deviation, and t-test. The results of the research were as follows: 1) The effectiveness of the mathematical investigation activities was 85.19/86.11 which according to the criterion of 75/75. 2) The score of mathematical reasoning ability of preservice mathematics teachers after using the mathematical investigation activities was 86.11% which is higher than the criterion score of 75% at .05 level of significance. 3) An opinion of preservice mathematics teachers after using the mathematical investigation activities was at good level. en_US
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2562 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน en_US
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การฝึกหัดครู en_US
dc.title การพัฒนาชุดกิจกรรมการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนิสิตฝึกหัดครู วิชาเอกคณิตศาสตร์ : รายงานการวิจัย en_US
dc.title.alternative Development of mathematical investigation activities that promote the mathematical reasoning ability of preservice mathematics teachers en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record