dc.contributor.author |
ณัฐชนัญ ลีพิพัฒน์ไพบูลย์, ผู้วิจัย |
|
dc.contributor.author |
ธรรมนูญ หนูจักร, ผู้วิจัย |
|
dc.contributor.author |
ศิริพัสตร์ ไชยันต์, ม.ล., ผู้วิจัย |
|
dc.contributor.author |
ลักษณา ดูบาส, ผู้วิจัย |
|
dc.contributor.author |
มนพิชา ศรีสะอาด, ผู้วิจัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-02-26T04:08:12Z |
|
dc.date.available |
2022-02-26T04:08:12Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78109 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้เป็นโครงงานวิจัยนำร่องสู่โครงการหลักมหาวิทยาลัยวิจัย คลัสเตอร์อาหารและน้ำหัวข้อการพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารเติมแต่ง สารปนเปื้อน สารตกค้าง สาระสำคัญในอาหารและผลิตผลการเกษตร นำเสนอการตรวจวัดสารยาสัตว์ตกค้างในเนื้อไก่การวิเคราะห์สารปนเปื้อนเหล่านี้ในสินค้าปศุสัตว์ทั้งสิ้น 24 ชนิด จาก 8 กลุ่มหลักได้แก่ กลุ่ม aminoglycosides 3 ชนิด, กลุ่ม β-lactam 3 ชนิด, กลุ่ม lincosamides 2 ชนิด, กลุ่ม macrolides 4 ชนิด, กลุ่ม quinolones 4 ชนิด, กลุ่ม sulfonamides 4 ชนิด, กลุ่ม tetracyclines 3 ชนิดและ amprollium โดยสกัดด้วยตัวทำละลายและวิเคราะห์ด้วยเทคนิคลิควิดโครมาโทกราฟีแทนเดมแมสสเปกโทรเมทรี โดยใช้คอลัมน์แยกในระบบไฮโดรฟิลิก วิธีการมีประสิทธิภาพสูง โดยมีขีดจำกัดต่ำสุดการวิเคราะห์ที่ 0.1-10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมค่าร้อยละการคืนกลับและความเที่ยงที่ระดับความเข้มข้นต่ำสุดที่ยอมให้มีได้อยู่ที่ 53-99% และ ≤ 15% ตามลำดับ วิธีการนี้ได้ทดลองใช้ในตัวอย่างเนื้อไก่ กุ้งและไข่ พบว่าใช้ได้ดีและสามารถใช้ได้ในงานวิเคราะห์ที่ทำประจำในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ได้ทดลองใช้เทคนิคการสกัดด้วยเส้นใยกลวง สกัดยาปฏิชีวนะ 11 ชนิดในน้ำเส้นใยกลวงมีรูพรุน ขนาดเล็ก ราคาถูก สามารถเพิ่มความเข้มข้นของสารที่ ต้องการตรวจวัดได้ถึง 156 เท่า มีขีดจำกัดการตรวจวัดต่ำถึง 10-250 นาโนกรัมต่อลิตร ค่าร้อยละการคืนกลับของวิธีการนี้เป็นที่น่าพอใจที่ระดับ 78-118% นอกจากนี้ได้นำเสนอสมการและแบบจำลองทางทฤษฎีสำหรับค่าจำเพาะการแยกสารใน MEKC (αMEKC) เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงการแยกและลำดับการเคลื่อนที่ของสารที่มีประจุใน MEKC ซึ่ง αMEKC สัมพันธ์กับตัวแปรที่ไม่มีหน่วยของค่าความจำเพาะของ μ (ความสามารถในการเคลื่อนที่) ในคะพิลลารีโซนอิเล็กโทรฟอริซิส (αCZE) และค่าความจำเพาะของรีเทนชันใน MEKC (αk) โดยที่ αCZE นิยามเป็นอัตราส่วนของ μ ใน CZE และ αk นิยามเป็นอัตราส่วนของค่า k ใน MEKC สำหรับสองสารมีประจุ เมื่อใช้อัลคิลพาราเบนเป็นสารทดสอบ พบว่า αMEKC จากการทดลองสอดคล้องกับค่าทำนายจากแบบจำลองทางทฤษฎี |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This work consisted of three pilot researches under the Food and Water Cluster of the National Research University Program in the developmental of determination techniques for efficient analyses of additives, contaminants, nutrients, and residues in food and agricultural products section. We report a simple and sensitive method for multiresidue analysis of 24 common veterinary drugs from 8 classes (3 aminoglycosides, 3 β-lactams, 2 lincosamides, 4 macrolides, 4 quinolones, 4 sulfonamides, 3 tetracyclines, and amprolium) in chicken muscle. The method employed simple liquid-liquid extraction step followed by analysis by liquid chromatography-tandem mass spectrometric using hydrophilic interaction liquid chromatography (HILIC). The method proved to be very efficient with 0.1-10 μg kg limits of detection, recoveries ranged between 53-99% at 0.5-MRL, MRL, and 1.5-MRL spiking levels, satisfactory precision (RSD≤15%) were also observed. The method was successfully tested on real samples (chicken muscle, shrimp, and egg). Alternative extraction method, a carrier-mediated hollow-fiber liquid-phase microextraction (HF-LPME), was evaluated on antibiotic residues in water matrix. Eleventh common antibiotics were selected and the HF-LPME procedure was optimized in water using small and inexpensive disposable hollow fiber membrane. The proposed HF-LPME procedure was much superior to traditional extraction technique and provided up to 156 times enrichment. The detection limits ranged from 10-250 ngL with relative recovery between 79-118% Lastly, a theoretical separation selectivity model of MEKC (αMEKC) was developed using a simple mathematical model for the prediction of separation and migration order. It was discovered that αMEKC is related to the dimensionless values of electrophoretic mobility (μ), the selectivity of capillary zone electrophoresis (αCZE), and the retention selectivity (αk) of MEKC. Where αCZE and αk are defined as the ratio of μ in CZE and the ratio of k in MEKC for two charged analytes, respectively. Alkylparaben analogs were employed as model compounds. Excellent correlations were observed between the predicted and experimental values. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมการทำงานวิจัยเชิงลึกในสาขาวิชาที่มีศักยภาพสูง |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การปนเปื้อนในอาหาร |
en_US |
dc.subject |
อาหาร -- การเจือปนและการตรวจสอบ |
en_US |
dc.subject |
ผลิตผลเกษตร -- การปนเปื้อน |
en_US |
dc.subject |
Food contamination |
en_US |
dc.subject |
Food adulteration and inspection |
en_US |
dc.subject |
Farm produce -- Contamination |
en_US |
dc.title |
โครงการนำร่องการพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารเติมแต่ง สารปนเปื้อน สารตกค้าง สารสำคัญในอาหารและผลิตผลการเกษตร : รายงานการวิจัย |
en_US |
dc.title.alternative |
Preprimary research on the development of determination techniques for efficient analyses of additives, contaminants, nutrients, residues in food and agricultural products |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |