Abstract:
จุดมุ่งหมายของการประเมินครั้งนี้คือ 1. เพื่อสำรวจความต้องการกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เข้าอบรมสามระดับ คือ ระดับเก่ง ระดับปานกลาง และระดับอ่อน 2. เพื่อสำรวจทัศนคติและแรงจูงใจของผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับการใช้แถบบันทึกภาพและแถบบัทึกเสียง 3. เพื่อประเมินผลโปรแกรมการสอนทักษะการฟังของหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้มภาคฤดูร้อน พ.ศ. 2532 สำหรับนำไปประกอบการปรับปรุงบทเรียน อุปกรณ์การสอน และกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการฟังให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย พลวิจัย การประเมินครั้งนี้ใช้พลวิจัยจำนวน 121 คน จากจำนวน 156 คน ซึ่งเป็นผู้เข้ารับการอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้มภาคฤดูร้อน สถาบันภาษา พ.ศ. 2532 บุคคลเหล่านี้แบ่งออกเป็นสามกลุ่มระดับ คือ กลุ่มระดับเก่งจำนวน 55 คน กลุ่มระดับปานกลาง จำนวน 49 คน และกลุ่มระดับอ่อน จำนวน 52 คน ทั้งนี้ฤโดยอาศัยคะแนน Listening pre-test และคะแนนแบบสอบสมิทธิภาพมาตรฐานเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม และในการประเมินนี้อาจารย์ผู้สอนวิชาทักษะการฟัง 6 ท่าน ได้แสดงความคิดเห็นและทัศนคติเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนโดยทั่ว ๆ ไป เครื่องมือและการประเมิน เครื่องมือในการประเมิน ได้แก่ แบบทดสอบการฟังความเข้าใจความก่อนเข้ารับการอบรมแบบทดสอบการฟังเข้าใจความเมื่อการอบรมสิ้นสุด แบบสอบถามชุดดที่ 1 สำรหับผู้เข้ารับการอบรม มีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประเมินค่า แบบสอบถามชุดที่ 2 สำหรับอาจารย์ผู้สอนวิชาทักษะการฟัง โดยให้อาจารย์เขียนแสดงความคิดเห็นและทัศนคติในด้านการเรียนการสอน บทเรียน จำนวน 17 บท บทเรียนเสริมจำนวน 10 เรื่อง แบบทดสอบย่อยจำนวน 5 แบบทดสอบ รวมทั้งอาศัยแหล่งข้อมูลเพื่อการรวบรวมข้อมูล เช่น ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมและผู้สอนจากการสอบถามและการสัมภาษณ์ เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการประเมินผลครั้งนี้ใช้โปรแกรม SPSSx ในการคำนวณค่าสถิติ t-test, F-test โดยใช้ข้อมูลความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม และความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนทักษะการฟังกทุกกลุ่ม สรุปผลการวิจัย 1. ผู้เรียนทั้งสามกลุ่มระดับมีความต้องการให้อาจารย์คนไทยเป็นผู้สอนโดยให้คำอธิบายเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การแสดงกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นได้ทั้งกิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมคู่และกิจกรรมหมู่ 2. ผู้เรียนกลุ่มระดับเก่งและผู้เรียนกลุ่มระดับปานกลางมีทัศนคติและแรงจูงใจในด้านเนื้อหา กิจกรรมที่ใช้สอน อุปกรณ์การสอนอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง แต่มีทัศนคติและแรงจูงใจด้านการประเมินผลย่อยอยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำ 3. ผู้เรียนกลุ่มระดับอ่อนมีทัศนคติและแรงจูงใจด้านเนื้อหา กิจกรรมที่ใช้สอน อุปกรณ์การสอนอยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำ แต่มีทัศนคติและแรงจูงใจด้านการประเมินผลย่อยอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง 4. ผู้เรียนทั้งสามกลุ่มระดับมีพัฒนาการการเรียนอย่างเห็นได้ชัดจากคะแนนเฉลี่ยการทดสอบก่อนเข้ารับอบรมและเมื่อการอบรมสิ้นสุดและจากคะแนนการประเมินผลบย่อย 5. ผู้เรียนทั้งสามกลุ่มระดับมีความพอใจโปรแกรมการสอนทักษะการฟังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะผู้เรียนกลุ่มระดับเก่ง