dc.contributor.advisor |
ปรีดา อัครจันทโชติ |
|
dc.contributor.author |
ทัศนีย์ มากคล้าย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-09T06:37:44Z |
|
dc.date.available |
2022-07-09T06:37:44Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79219 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เรื่อง “ความเป็นวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอส” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสร้างสรรค์ความเป็นวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอส และ 2) วิเคราะห์ลักษณะความเป็นวีรชนคนสามัญที่ปรากฏในละครไทยพีบีเอส โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) จากละครไทยพีบีเอสจำนวน 7 เรื่อง ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างสรรค์และผู้ควบคุมการผลิตละครไทยพีบีเอส นักวิชาการ และการสนทนากลุ่มกับตัวแทนสภาผู้ชมผู้ฟังไทยพีบีเอส
ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์ความเป็นวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอสมักนำเสนอในรูปแบบละครยาวแนวชีวิตและอิงประวัติศาสตร์ มักมีโครงสร้างการเล่าเรื่องแบบไม่เรียงลำดับเหตุการณ์ จุดเริ่มต้นในการออกเดินทางต่อสู้ของวีรชนคนสามัญแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1) เห็นผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน 2) ตนเองได้รับความเดือดร้อน วัตถุประสงค์การต่อสู้ ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม และ 2) ท้าทายและต่อต้านค่านิยมหรือกฎเกณฑ์อันไม่ชอบธรรมในสังคม ลักษณะวีรชน คนสามัญในละครไทยพีบีเอสมักมีความเป็นมนุษย์ที่สมจริง มีตัวละครฝ่ายสนับสนุน 3 ประเภท ได้แก่ 1) ครอบครัว 2) เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน และ 3) ผู้ทรงภูมิความรู้หรือนักบวช ส่วนตัวละครผู้ร้ายมักมิใช่ผู้ร้ายตามขนบ ได้แก่ 1) ผู้มีอำนาจทางการปกครอง 2) ผู้บังคับบัญชา 3) ครอบครัว และ 4) ผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ส่วนความขัดแย้งที่พบแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ความขัดแย้งกับสังคม และ 2) ความขัดแย้งภายในจิตใจของตนเอง ในด้านฉากการต่อสู้ของวีรชนคนสามัญมักเกิดในที่ทำงานและที่บ้านเป็นหลัก ส่วนจุดจบของวีรชนคนสามัญแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1) สานต่อความฝันหรือการผจญภัยบทใหม่ 2) กลับถิ่นฐานบ้านเกิด และ 3) ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
นอกจากนี้ยังพบว่าคุณลักษณะสำคัญที่เป็นจุดร่วมของวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอส คือความกล้าหาญเสียสละเพื่อคนในสังคมและที่สำคัญคือการเอาชนะอุปสรรคภายในหรือจิตใจฝ่ายต่ำของตนเองไปให้ได้ ส่วนลักษณะการต่อสู้เป็นการสู้โดยปราศจากอาวุธ อีกทั้งวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอสมักมีทุกเพศทุกวัยและปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย |
|
dc.description.abstractalternative |
This qualitative research aimed to study 1) the creation of heroism from common people in Thai PBS television drama and 2) an analysis of the heroism characterization of common people in Thai PBS television drama. The methods used in the study were textual analysis from seven Thai PBS Dramas, in-depth interviews with Thai PBS drama personnels and an academic, and a focus group with representatives from Thai PBS Audience Council.
The results showed that the creation of heroism from common people in Thai PBS television drama is mostly presented in drama and historical genres with a non-chronological narrative structure. The initiation of heroism from common people were 1) being a witness to others’ suffering 2) facing difficulty or suffering. The objectives of fighting were categorized into two categories: 1) fighting for morality and 2) fighting for challenging and opposing unjust societal values or rules. In terms of characteristics of heroism from common people, the characters were realistic characters. The subordinate characters who acted as supporters can be divided into three groups: 1) family, 2) friends or colleagues, and 3) scholar or clergyperson. The resulted also indicated that conflicts can be divided into two types: 1) conflicts with society and 2) conflicts was conflicts within themselves. In addition to conflicts, it was found that fight scenes often took place at works and homes. As the story ending, the results pointed that there were three types of ending, 1) Pursuing a new dream or adventure. 2) Returning to their home towns, and 3) being injured or dying.
The key features of heroism from common people in Thai PBS television drama were bravery and sacrifice themselves for society. They never surrender their missions to obstacles. And the most importantly, they always overcome their evil selves. As in fighting style, it was found as an unarmed fight. In addition, the common heroines in Thai PBS dramas were often across all genders and ages, and they were from all regions of Thailand. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.669 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ตัวละครและลักษณะนิสัยในโทรทัศน์ |
|
dc.subject |
ละครโทรทัศน์ไทย |
|
dc.subject |
วีรชน |
|
dc.subject |
Characters and characteristics on television |
|
dc.subject |
Television plays, Thai |
|
dc.title |
ความเป็นวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอส |
|
dc.title.alternative |
Heroism from common people in Thai PBS television drama |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิเทศศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.669 |
|