DSpace Repository

การวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน
dc.contributor.author วัชรวีร์ ไชยยายนต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-09T06:37:44Z
dc.date.available 2022-07-09T06:37:44Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79220
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ โดยศึกษาละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือจำนวน 3 เรื่อง ซึ่งออกอากาศทางช่อง 3HD ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1.การวิเคราะห์ตัวบทละคร 2.การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิต ได้แก่ ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์และผู้จัดละครโทรทัศน์ 3.การจัดกลุ่มสนทนาผู้ชมละครโทรทัศน์ที่เป็นผู้หญิงล้านนา ผลการวิจัยพบว่า ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือทั้ง 3 เรื่อง มีการสร้างภาพตัวแทนของความเป็นแม่ ความเป็นเมีย และความเป็นลูกสาว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวทั้งสิ้น ผู้หญิงล้านนาส่วนใหญ่มีหน้าที่สนับสนุนความสำเร็จของคู่ครองและทำหน้าที่ดูแลทุกอย่างภายในบ้าน ดังนั้นการถ่ายทอดอุดมการณ์ทางความคิดจากรุ่นสู่รุ่นจึงตกเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ภาพตัวแทนผู้หญิงล้านนาในละครบางเรื่องจึงแสดงออกถึงความเป็นแม่และความเป็นเมียควบคู่กัน ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาที่แสดงออกมา มีการประกอบสร้างภาพตัวแทนโดยการนำบริบทของวัฒนธรรมปัจจุบันผสมผสานเข้าไปกับวัฒนธรรมล้านนาแบบดั้งเดิม ดังนั้นภาพตัวแทนที่แสดง จึงเป็นสิ่งที่กระทบเข้าไปในการรับรู้และความรู้สึกของผู้ชม เนื่องจากภาพตัวแทนที่เห็นนั้นเป็นเหมือนภาพสะท้อนของตัวเอง ก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่าเราควรทำหรือไม่ควรทำตามภาพสะท้อนที่เห็น และถ้าเราอยู่ ณ เวลานั้นในอดีต เราจะทำอย่างไร  อีกประการ การสร้างภาพตัวแทนผู้หญิงล้านนาในละคร ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงทางสังคมในหลายแง่มุม เพราะสิ่งที่ปรากฏในละครบางอย่างยังคงอยู่ในปัจจุบัน
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study the representation of Lanna women on period dramas set in Northern Thailand. The 3 selected dramas were broadcast on 3HD television channel from January 2010 to January 2020. Its qualitative research methodology involves 3 processes: screenplay analysis, in-depth interviewing the people in filmmaking which are screenwriters and producers, and holding a conversational meeting among audiences of the dramas. The study found that Lanna women on those 3 dramas were represented by the image of being mothers, wives and daughters emerging from family institution. Most of the women were expected to support their spouse to success and to take care of every single issue in their house. Thus, propagation any intellectual ideology to younger generation has been fallen on women. Being mothers and wives simultaneously represented the women on some of the dramas. The representation involves construction the women’s image by mixing some elements of current culture into the traditional one. The representation, therefore, had more impacts on awareness and feeling of audience since it merely reflected them. It also prompted audience to question within themselves where it is appropriate to follow the representation and what they would do when facing the same experience. Lastly, the representation of the women reflects some issues in current situation due to some unchanging values remaining until these days.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.678
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ละครโทรทัศน์ไทย
dc.subject สตรีในละคร
dc.subject สตรี -- ไทย (ภาคเหนือ)
dc.subject ภาพในความคิด
dc.subject Television plays, Thai
dc.subject Women in the theater
dc.subject Women -- Thailand, Northern
dc.subject Stereotypes (Social psychology)
dc.title การวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้หญิงล้านนาในละครโทรทัศน์แนวย้อนยุคบริบทภาคเหนือ
dc.title.alternative The analysis of representative images of Lanna women in Northern Thai-themed period tv dramas
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.678


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record