DSpace Repository

ความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
dc.contributor.author บูรณิมา อรุณนิมิตกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T03:59:18Z
dc.date.available 2022-07-23T03:59:18Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79448
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 31 วรรคสอง โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาตั้งแต่ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดอาญา โครงสร้างความรับผิดทางอาญา รวมถึงหลักความรับผิดที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น (Vicarious Liability) และนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางที่เหมาะสมเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมต่อไป จากการศึกษาของผู้วิจัยพบว่าการที่พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 31 วรรคสองกำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องรับผิดในทางอาญาจากการกระทำของผู้ชุมนุมนั้นมีปัญหาที่สำคัญ 2 ประการ1. การกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักการกำหนดความรับผิดในทางอาญาทั่วไปที่กำหนดให้บุคคลต้องรับผิดเฉพาะแต่การกระทำของตนเองเท่านั้น โดยที่เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะในต่างประเทศที่ผู้วิจัยได้ทำการเลือกมาศึกษาวิจัยเปรียบเทียบแล้วพบว่าในต่างประเทศไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะที่กำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องรับผิดจากการกระทำของผู้ชุมนุมเช่นเดียวกับรูปแบบของกฎหมายไทย 2. การกำหนดความรับผิดทางอาญาแก่ผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมจำเป็นต้องพิจารณาถึงนิยามคำว่า “ผู้จัดการชุมนุม” ประกอบด้วย ซึ่งการกำหนดคำนิยามคำว่าผู้จัดการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 4 ประกอบกับมาตรา 10 วรรคสองนั้น บัญญัติไว้อย่างกว้างจนส่งผลให้บุคคลจำนวนมากอยู่ในฐานะผู้จัดการชุมนุมทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้จัดการชุมนุมตามความเป็นจริง โดยที่เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศแล้วพบว่ามีการกำหนดคำนิยามคำว่าผู้จัดการชุมนุมไว้ชัดเจนกว่าซึ่งเหมาะแก่การนำมาปรับใช้กับกฎหมายไทย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามคำว่าผู้จัดการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 4 เพื่อให้การกำหนดว่าบุคคลใดอยู่ในฐานะผู้จัดการชุมนุมมีความชัดเจนมากขึ้น และ ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดความรับผิดทางอาญาแก่ผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุม โดยเปลี่ยนเป็น ให้ผู้จัดการชุมและผู้ชุมนุมต่างต้องรับผิดทางอาญาจากการกระทำของตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลมากยิ่งขึ้น
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study the definition of the “organizer” of the public assembly and its criminal liability resulting from the act of a participant in such assembly under Section 31 paragraph 2 of the Public Assembly Act B.E. 2558 (2015). The researcher examines the theories of criminal sanction and punishment, the structure of the criminal offense, and the principle of vicarious liability, and analyze its implication on statutes of England, South Korea, Malaysia, and Singapore. Consequently, this thesis will present the appropriate guidelines regarding the criminal liability of the public assembly organizer from the participant's act. The study finds that Section 31 paragraph 2 of the Public Assembly Act B.E. 2558 (2015), stipulating the organizer’s criminal liability for the act of participants, causes two important problems: 1. the criminal liability of the organizer does not align with the general criminal principle, being a person should only be liable for his act.  This comparative study shows that the public assembly laws of other jurisdictions do not punish the organizer for the act of the participant; and 2. the organizer's criminal liability for the participant's act shall be examined with the definition of the “organizer.” Section 4 and Section 10 paragraph 2 of the Public Assembly Act B.E. 2558 (2015) provide a broad definition of the organizer resulting in a large group of individuals falling within the scope of “organizer,” whether they are de facto organizers. The study shows that the public assembly laws of other jurisdictions provide clearer definitions of the organizer, which could be implemented in Thai laTherefore, the research proposes the amendment of the definition of the “organizer” under the Section 4 of the Public Assembly Act B.E. 2558 (2015) to have a clearer definition. In addition, the clause on the organizer’s criminal liability for the act of the participant should be amended to the organizer and participant being liable for their own acts, to comply with the international standard.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.695
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ความรับผิดทางอาญา
dc.subject สิทธิการชุมนุม -- ไทย
dc.subject การเดินขบวน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subject พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558
dc.subject Criminal liability
dc.subject Assembly, Right of -- Thailand
dc.subject Demonstrations -- Law and legislation
dc.subject Public Assembly Act B.E. 2558 (2015)
dc.title ความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558
dc.title.alternative The study of criminal liability of an organizer from action of person who takes part in a Public Assembly of the Public Assembly act B.E. 2558
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.695


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record