dc.contributor.advisor |
สมิทธิ์ บุญชุติมา |
|
dc.contributor.author |
กิตติภูมิ ลมุลพจน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T04:26:42Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T04:26:42Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79601 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม และความสัมพันธ์ของคุณค่าตราสินค้ากับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เทคนิคการสำรวจ ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต นักศึกษาเจนเนเรชั่นแซดอายุระหว่าง 18 – 24 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในประเทศไทย และเลือก แสนสิริ เป็นตราสินค้าสำหรับการวิจัยโดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางทวิตเตอร์ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 421 ชุด
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันจะรับรู้คุณค่าตราสินค้าโดยรวมและรายด้านทุกด้านของตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนมากสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนน้อยในทุกด้าน และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการสนับสนุนต่างกันจะมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนมากสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับการสนับสนุนของกลุ่มที่มีท่าทีสนับสนุนน้อย ทั้งนี้คุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือการบริการจากตราสินค้าที่เคลื่อนไหวเพื่อการสมรสเท่าเทียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่แน่ใจว่าเคยได้ยินหรือเห็นการเคลื่อนไหวของตราสินค้าต่อประเด็นที่เป็นกระแสในปัจจุบัน และเชื่อว่าตราสินค้ามีหน้าที่ในการเป็นกระบอกเสียงให้กับสังคมและย่อมทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น รวมถึงจะมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะซื้อสินค้าหรือบริการจากตราสินค้าที่ออกมาแสดงจุดยืนตรงกัน และจะสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะมีแนวโน้มน้อยลงที่จะสนับสนุนตราสินค้าที่ออกมาแสดงจุดยืนในทางตรงกันข้าม |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to investigate the differences between consumer groups with different supportive level towards brand equity and purchase intention of brand activism on marriage equality and the relationship between brand equity and purchase intention of brand activism on marriage equality. This research was a quantitative study using survey method. Online questionnaires were used to collect data from undergraduate students who were generation Z aged 18 – 24 years old. ‘Sansiri’ was used as a research brand. The links to online questionnaires were distributed via Twitter in April 2022 and received 421 participants.
The research finding showed that undergraduate student groups with different supportive level perceived each dimension of brand equity of brand activism on marriage equality differently with statistically significant at the .05 level. The mean of supportive level of the group with much supportive level was higher than the group with less supportive level in all dimensions. Also, undergraduate student groups with different supportive level had different purchase intention of brand activism on marriage equality with statistically significant at the .05 level. The mean of supportive level of the group with much supportive level was higher than the group with less supportive level. In addition, brand equity has a high positive relation with purchase intention of brand activism on marriage equality with statically significant at the .01 level.
The finding also found that the undergraduate students were unsure whether they had heard or seen brand activism on the current trending issues and believed that brand has responsibility to be the voice for society and can cause the social changes. They also had more tendency to purchase products or services from the brand that has the same stance and less likely to support the brand that has the opposite stance. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.657 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ชื่อตราผลิตภัณฑ์ |
|
dc.subject |
การเลือกของผู้บริโภค |
|
dc.subject |
ความเสมอภาคทางเพศ |
|
dc.subject |
Brand name products |
|
dc.subject |
Consumers' preferences |
|
dc.subject |
Gender equality |
|
dc.title |
ความแตกต่างของระดับการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของตราสินค้าเพื่อการสมรสเท่าเทียมต่อคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของกลุ่มเจนเนเรชั่นแซด |
|
dc.title.alternative |
Differences of supportive level for brand activism on marriage equality towards brand equity and purchase intention of generation z |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิเทศศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.657 |
|