dc.contributor.advisor |
สราวุธ อนันตชาติ |
|
dc.contributor.author |
สุธาทิพย์ มีสุวรรณ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T04:26:49Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T04:26:49Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79613 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ความรู้สึกของผู้บริโภค (ได้แก่ อารมณ์ ทัศนคติต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน ทัศนคติต่อตราสินค้า และความไว้วางใจได้) และประสบการณ์ของผู้บริโภค (ได้แก่ ความพึงพอใจ ความถี่ในการซื้อ และความภักดีต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน) และ 2) อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า UNIQLO อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 325 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 242 คน รวมทั้งหมด 567 คน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟส ความรู้สึกของผู้บริโภค และประสบการณ์ของผู้บริโภคตราสินค้า UNIQLO และตราสินค้า H&M แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสำหรับตราสินค้า UNIQLO การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของสุนทรียศาสตร์ในการออกแบบ และการรับรู้ถึงความมีประโยชน์ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคมากที่สุด ขณะที่การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของการรับรู้ถึงความเพลิดเพลิน มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M มากที่สุด |
|
dc.description.abstractalternative |
This survey research aims to investigate: 1) user interface designs for mobile applications, consumers’ feelings (that is, emotion, attitude toward the app, attitude towards the brand, and trust) and consumers’ experiences (that is, satisfaction, purchase frequency, and m-loyalty) and 2) the influences of user interface designs for mobile applications on consumers’ feelings and experiences. Online questionnaires were distributed to a total of 567 respondents: 1) 325 consumers aged between 20 and 39 years old, who have downloaded the mobile application of UNIQLO and made at least one purchase within the past two months, and 2) 242 consumers aged between 20 and 39 years old, who have downloaded the mobile application of H&M and made at least one purchase within the past two months. The results show significant differences between user interface designs for mobile applications, consumers’ feelings, and consumers’ experiences of UNIQLO and those of H&M. Specifically, for the UNIQLO brand, design aesthetics for the user interface of mobile applications and perceived usefulness have the highest influences on consumers’ feelings and consumers’ experiences. Meanwhile, for the mobile application of H&M, user interface design in the dimension of perceived enjoyment has the highest influence on consumers’ feelings and consumers’ experiences. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.680 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
|
dc.subject |
ตัวเชื่อมประสานกับผู้ใช้ (ระบบคอมพิวเตอร์) -- การออกแบบ |
|
dc.subject |
ความพอใจของผู้บริโภค |
|
dc.subject |
Mobile apps |
|
dc.subject |
User interfaces (Computer systems) -- Design |
|
dc.subject |
Consumer satisfaction |
|
dc.title |
อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค |
|
dc.title.alternative |
Influences of user interface design for mobile applicationon consumers’ feelings and experiences |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิเทศศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.680 |
|