DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor วริศ วงศ์พิพิธ
dc.contributor.advisor สุธนะ ติงศภัทิย์
dc.contributor.author วชิรวิทย์ พงษ์จีน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:32:11Z
dc.date.available 2022-07-23T04:32:11Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79717
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาอาสาสมัคร (n=50) สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มทดลองที่ออกกำลังด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่ความหนักร้อยละ 50 และ 80 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 21 นาทีต่อครั้ง จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (n=19)  2) กลุ่มทดลองที่ออกกำลังด้วยการกระโดดเชือกอย่างต่อเนื่องที่ความหนักระดับปานกลางที่ความหนักร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 30 นาทีต่อครั้ง จำนวน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ (n=20) และ 3) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย (n=20) ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและความรู้นั้นประเมินก่อนและหลังออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ ในขณะที่การตอบสนองการรับรู้ทางจิตวิทยานั้นประเมินหลังการออกกำลังกายครั้งที่หนึ่งและครั้งสุดท้ายของการออกกำลังกาย การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ เปรียบเทียบผลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม  ซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองเป็นตัวแปรร่วมหากพบความแตกต่างจะเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ตามวิธีของบอนเฟอโรนี  โดยมีค่าพื้นฐานก่อนการทดลองและเพศเป็นตัวแปรร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายประเภทแอโรบิกของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและพัฒนาด้านความรู้ของการออกกำลังกายของนิสิตนักศึกษาได้ไม่แตกต่างจากการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องที่ความหนักระดับปานกลาง
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to study the effects of a high-intensity interval exercise programme using rope skipping on health-related physical fitness in undergraduate students. Fifty-nine healthy adults (age: 21.7±2.5 years; 30 males) participated in this randomised controlled study. The participants were randomly assigned to three groups: 1) HIIE (9 x 2-min rope skipping bouts at 80% maximal heart rate (HRmax) interspersed with 1-min active recovery at 50% HRmax), 2) MICE (30-min rope skipping at 70% HRmax), or 3) non-exercise control group. Exercise sessions were conducted three and five times per week in HIIE and MICE, respectively, for 8 weeks. Health-related physical fitness and knowledge were assessed at baseline and after the 8-week intervention. Perceived-psychoperceptual responses were examined after the first and the last exercise session respectively. Mean differences among groups for health-related physical fitness, knowledge, and perceived-psychoperceptual were tested by ANCOVA, while controlling for baseline values and sex. The findings were as follows: 1) the cardiovascular endurance in both experimental groups was higher than the control group. 2) knowledge of exercise in both experimental groups was higher than the control group. Conclusion: HIIE and MICE similarly improved cardiovascular endurance and knowledge.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1102
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา
dc.title.alternative Effects of a high-intensity interval exercise programme using rope skipping on health-related physical fitness of undergraduate students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สุขศึกษาและพลศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1102


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record