DSpace Repository

การออกแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงโดยใช้โมไบล์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์
dc.contributor.author ณัฐพล สิงสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-03T04:34:39Z
dc.date.available 2023-02-03T04:34:39Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81699
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิหลัง ประสบการณ์ผู้ใช้ รวมถึงความต้องการจำเป็น ของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงโดยใช้โมไบล์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักเรียนและครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา 2) พัฒนานวัตกรรมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงฯ 3) ศึกษาผลของการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงฯ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) ศึกษาภูมิหลัง ประสบการณ์ผู้ใช้ รวมถึงความต้องการจำเป็นของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงโดยใช้โมไบล์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 438 คน และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 447 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล 2) พัฒนาต้นแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงโดยใช้โมไบล์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้แผนการเรียนรู้จำนวน 6 แผน มีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินเครื่องมือวิจัยและคุณภาพสื่อ จำนวน 6 ท่าน หลังจากนั้นทดลองใช้ต้นแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงฯ ในกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20 คน  3) ศึกษาผลของการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงฯ กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดอินทาราม จำนวน 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test depenent) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนและครูส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) นักเรียนต้องการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงบนโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อช่วยในการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าเป็นลำดับแรก (PNIModified = 3.14) และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การออกแบบสวยงามและน่าสนใจ (x̄ = 4.91, S.D. = 0.38) สำหรับครู ความต้องการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงบนโมไบล์แอปพลิเคชันคือ เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าได้เป็นลำดับแรก (PNIModified = 3.09) ค่าเฉลี่ยสูงสุดของปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงบนโมไบล์แอปพลิเคชัน ได้แก่ สามารถใช้เป็นสื่อสำหรับนักเรียนในการทำการทดลองวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตัวเอง (x̄ = 4.83, S.D. = 0.51) 3) นักเรียนที่ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงฯ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงฯ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to 1) study users’ background, experience and needs to develop a virtual science laboratory using mobile application in blended learning 2) develop a virtual science laboratory using mobile application in blended learning to enhance secondary school students’ science process skills, and 3) examine the effect of using a virtual science laboratory using mobile application in blended learning. The research divided into three phases according to the research objectives: 1) studying the needs for virtual science laboratory using mobile application in blended learning from 438 secondary school students and 447 secondary school science teachers, 2) developing a virtual science laboratory using mobile application in blended learning to enhance students’science process skills, in which six experts conducted an evaluation and later testing the virtual science laboratory prototype with the sample group of 20 secondary school students, 3) studying the results of using a virtual science laboratory using mobile application in blended learning to enhance students’ science process skills of 30 mathayom suksa one students of Wat Intharam School. The data were analyzed by using frequency, percent, mean, standard deviation, and tested the hypothesis with t-test dependent. The research result indicated that 1) most students and teachers used mobile phones runing on the Android operating system, 2) the primary needs of students to have a virtual science laboratory using mobile application was to be able to predict future outcome (PNIModified = 3.14) and the primary factor affecting the use of mobile virtual science laboratory applications was beautiful and attrative design (x̄ = 4.91, S.D. = 0.38), meanwhile the primary needs of was to help students to be able to predict future outcome (PNIModified = 3.09) and the primary factor was to support students to do science experiment themsleves (x̄ = 4.83, S.D. = 0.51), 3) the result form the experimental group revealed the post-test score of the science process skills was higher than pre-test at the .05 level of sinificance, and 4) the learners were satisfied with the mobile virtual science laboratory at the most satisfactory level.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.401
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การออกแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงโดยใช้โมไบล์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternative Designing a mobile virtual science laboratory in blended learning to enhance secondary school students' science process skills
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.401


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record