DSpace Repository

ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดวาทศาสตร์และแนวคิดการสอนเขียนแบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย   

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า
dc.contributor.author รัชนีกร การภักดี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:35:41Z
dc.date.available 2023-08-04T06:35:41Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82656
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดวาทศาสตร์และแนวคิดการสอนเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดวาทศาสตร์และแนวคิดการสอนเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 21 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และแผนการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการใช้ภาษา ด้านการลำดับความคิด และด้านคุณค่าต่อผู้อ่าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 5 ประเภท ได้แก่ การเขียนเรียงความ การเขียนสื่อสารแสดงทรรศนะ การเขียนสื่อสารเพื่อเชิญชวน การเขียนสื่อสารเพื่อโน้มน้าว และการเขียนสื่อสารเพื่อโต้แย้งของนักเรียน ปรากฏว่า นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ทุกประเภทในครั้งหลังดีขึ้นกว่าในครั้งก่อนหน้า 
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to: 1) compare the creative writing abilities of students before and after using rhetorical and collaborative writing approaches, and 2) study the improvement in the creative writing abilities of students using these approaches. The sampling group consisted of 21 students studying in Grade 11 at a large secondary school under the Secondary Educational Service Area Office, Bangkok 1. The research instruments were an achievement test for evaluating creative writing abilities and lesson plans based on rhetorical and collaborative writing approaches. The data were analyzed using mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The findings showed that: 1) the students who studied using rhetorical and collaborative writing approaches had mean post-test scores, both overall and in terms of four components (content, rhetoric, organization of ideas, and awareness of readers) that were significantly higher than their pre-test scores at the .05 level of significance; 2) through analyzing the students’ improvements in creative writing ability from five types of essays, namely essay, perspective writing, 2 types of persuasive writing and argumentative writing the students showed improved creative writing ability after using rhetorical and collaborative writing approaches.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1001
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดวาทศาสตร์และแนวคิดการสอนเขียนแบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย   
dc.title.alternative Effects of instruction using rhetorical and collaborative writing approaches on creative writing abilities of upper secondary school students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.1001


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record