DSpace Repository

การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิชาติ พลประเสริฐ
dc.contributor.author วนาลี ชาฌรังศรี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:35:51Z
dc.date.available 2023-08-04T06:35:51Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82672
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ใช้ในการศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะไทย 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะไทยนอกระบบโรงเรียน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดนิทรรศการ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมประยุกต์ใช้ศิลปะไทย จำนวนด้านละ 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทย จำนวน 3 กิจกรรม และการสังเกตการจัดนิทรรศการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 นิทรรศการ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ เยาวชนอายุ 18-25 ปี ที่เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 53 คน และเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน แบบประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยจากผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน จัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT คือ 1) ขั้นทบทวน สร้างประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจ 2) ขั้นออกแบบ พัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดและออกแบบผลงาน 3) ขั้นปฏิบัติ ลงมือสร้างสรรค์ผลงาน 4) ขั้นสรุป แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์แนวทางการนำไปใช้ โดยนิทรรศการมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 พื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม เนื้อหาของนิทรรศการแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ศิลปะไทยประเพณี 2) ศิลปะไทยร่วมสมัย 3) การประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบไปด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วม 5 กิจกรรม คือ 1) แต้มสี แต่งภาพ 2) เช็ดรัก ปิดทอง ต่อลาย 3) กระแหนะลาย แต้มแต่ง 4) ประดับกระจกสี ลีลาแสง 5) ลายลิ้ม พิมพ์หมึก ส่วนที่ 2 พื้นที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน เป็นการทำกิจกรรมที่นำความรู้จากการชมนิทรรศการมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวน 3 กิจกรรม คือ 1) ปักภูษา พกพาหิมพานต์ 2) ร้อยลาย เรียงมงคล 3) สร้างเส้นสี มาลีลวดลาย ผลจากการทดลองใช้รูปแบบนิทรรศการศิลปะแบบมีส่วนร่วมพบว่า เยาวชนมีความคิดเห็นและพึงพอใจต่อนิทรรศการในระดับมากที่สุด (x̄=4.86, SD=0.28) ด้านความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรม เยาวชนมีระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อกิจกรรมศิลปะภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.83, SD=0.15) ผลประเมินผลงานจากการประยุกต์ใช้ศิลปะไทย มีระดับคะแนนการประยุกต์ใช้ของเยาวชนเฉลี่ยทั้ง 3 กิจกรรม อยู่ในระดับดีมาก คือ 13 คะแนน (x̄=13, SD=0.29)
dc.description.abstractalternative This research aimed to 1) Study guidelines for developing a participatory Thai art exhibition to promote the application of Thai art in everyday life. 2) Develop a participatory Thai art exhibition model to encourage the use of Thai art in daily life. There are 2 sample groups: The first group is used to study information to develop a participatory Thai art exhibition to promote Thai art application in daily life. These sample group consists of 1) Thai art experts, 2) Thai art teaching experts, 3) Thai art activity organizing experts outside the school system, 4) Exhibition experts, 5) Applied Thai art activities organizing specialists. Each group of 3 people has been selected with purposive sampling method. Data were collected through interviews and observations of 3 Thai art activities and 3 participatory exhibitions. The second group was used to experiment with a participatory Thai art exhibition model, including 53 of 18-25 years old youths who visited the exhibition with and participated in the creative activities. 32 Participants were selected by voluntary selection. The tools used to collect data included commentary surveys on learning spaces of participatory Thai art exhibition, feedback surveys on creative Thai art activities in daily life, evaluation of the ability to apply Thai art. Data Analysis using mathematical averages, standard differences, and data analysis.     The results of the research was a formation of a model for a participatory Thai art exhibition to promote the daily application of Thai art for young people. This research has developed the exhibition principles by using the learning management method according to the 4 MAT learning cycles, which are 1) Review stage, building knowledge and understanding experiences. 2) Design stage, developing experiences into concepts. 3) Practical stage, developing the experience into a concept and designing the work. 4) Conclusion stage, expressing opinions and analyzing application guidelines. The exhibition consists of 2 parts: Part 1 is a learning area for participatory Thai art exhibitions. The content of the exhibition is divided into 3 topics. 1) Traditional Thai art, 2) contemporary Thai art, 3) the application of Thai art in everyday life. It consists of 5 participatory activities. 1) Decorative Thai painting 2) Creating Thai Lacquer Work 3) Thai Sculpture 4) Decoration with glass mosaic. 5) Printing Thai ornaments. Part 2 is the space for creative Thai art activities that brings knowledge from the exhibition to create artworks for everyday life, consisting of 3 activities: 1) Pin of Himmapan animals, 2) Creating Thai auspicious bracelets, 3) Painting a vase with Thai shapes. The results of a participatory art exhibition experiment showed that young people had the highest level of opinion and satisfaction about the exhibition (x̄=4.86, SD=0.28). Young people had their highest levels of opinion, satisfaction with the art activities (x̄=4.83, SD=0.15). The evaluation of the work from the application of Thai art found that the average youth’s application of Thai art scores of three activities were very good, with 13 scores (x̄=13, SD=0.29)
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.932
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน
dc.title.alternative The development of a participatory Thai art exhibition to promote the application of Thai art in daily life for youth
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ศิลปศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.932


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record