DSpace Repository

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษาที่มีต่อความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุธนะ ติงศภัทิย์
dc.contributor.author ชยุต จุบรัมย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:36:22Z
dc.date.available 2023-08-04T06:36:22Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82709
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษากับของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษา จํานวน 8 แผน (IOC=0.80) 2) แบบทดสอบความมีน้ำใจนักกีฬา (IOC=0.60-1.00)  3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา ด้านความรู้ ด้านคุณธรรม ด้านเจตคติ ด้านทักษะ ด้านสมรรถภาพทางกาย (IOC=0.80-1.00)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษา ช่วยพัฒนาความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายดีขึ้น
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to evaluate and compare the effects of physical education learning activities based on Kohlberg’s theory of moral development combined with a case study on sportsmanship on the  learning achievement of upper secondary school students. The participants included 60 students divided equally into two groups: an experimental group and a control group. The research instruments consisted of eight lesson plans (IOC=0.80), a pretest and posttest for test of sportsmanship (IOC=0.60-1.00),and learning achievement (IOC=0.80-1.00). The experiment was conducted over a period of 8 weeks for 1 day per week at 60 minutes per day. The tests were conducted to measure sportsmanship along with learning achievement regarding knowledge, attitude, morality, sports skills, and physical fitness. The data were analyzed using mean, standard deviation, and t-test.                The research findings were as follows: 1) the mean scores on the test of sportsmanship and learning achievement of the experimental group were significantly higher after completing the lessons than before at the .05 level of significance. 2) the mean scores on the of test of sportsmanship and learning achievement of the experimental group were significantly higher than the control group at .05 level of significance. Conclusion : physical education learning activities using kohlberg’s theory of moral development and case study on sportsmanship and learning achievement of upper secondary school students can make the students have a better sportsmanship and learning achievement in Physical Education.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.983
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษาที่มีต่อความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.title.alternative Effects of physical education learning activities using Kohlberg’s theory of moral development and case study on sportsmanship and learning achievement of upper secondary school students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สุขศึกษาและพลศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.983


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record