Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการไตร่ตรองการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนิสิตในรายวิชาการออกแบบการเรียนการสอน 2. ศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 3. ศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้การออกแบบการสอนของนิสิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 (หลักสูตร 5 ปี) ที่เรียนวิชาการออกแบบการสอนที่ผู้วิจัยสอนในปีการศึกษา 2563 จำนวน 45 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสะท้อนคิดตามรู้แบบที่พัฒนาขึ้น ระยะเวลาทดลองใช้รูปแบบ 14 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง ผู้วิจัยวิเคราะห์ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนจากงานการทดสอบปลายภาคโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนที่กำหนดขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยแนวคิดพื้นฐานและกิจกรรมดังนี้ 1.1 การออกแบบการสอนจะทำได้ดีเมื่อมีนิสิตมีความรู้ ได้ออกแบบการสอนด้วยตนเองได้นำประสบการณ์ที่ได้จากการออกแบบการสอน การนำเสนอของตนเองและผู้อื่นมาคิดพิจารณาข้อดีข้อเสียของการสอนและปรับปรุงการสอน ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการชี้แนะและตอบคำถาม 1.2 กิจกรรมสำคัญประกอบด้วย การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน การเรียนรู้เรื่องวิธีสอน การเรียนรู้เรื่องรูปแบบการเรียนการสอน การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ 2. ผลการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า นิสิตส่วนใหญ่ร้อยละ 37.78 มีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนในระดับดี (2.5-3) นิสิตร้อยละ 20 ออกแบบการเรียนการสอนได้ในระดับดีมาก (3.5-4) 3. องค์ประกอบและกระบวนการเรียนรู้การออกแบบการเรียนการสอนของนิสิต 3.1 องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย องค์ประกอบของการเรียน ได้แก่ การศึกษาหาความรู้ การลงมือทำ การไตรตรองการสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.2 องค์ประกอบของการสอน ได้แก่ การสอนที่เป็นแบบ active learning และส่งเสริมการไตรตรองการสอน การให้คำแนะนำและตอบคำถาม 3.3 องค์ประกอบของงานได้แก่ การออกแบบวิธีสอน งานการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ 3.4 กระบวนการเรียนรู้เรื่องการออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย การศึกษาความรู้จาการฟังและการอ่าน การออกแบบกิจกรรมวิธีสอน การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ การเสนอผลงานและการรับฟังผลงานผู้อื่น การไตรตรองการสอน การปรับปรุงการเรียนการสอนที่ออกแบบ การปรับปรุงความรู้ การใช้ความรู้ที่ปรับปรุง