dc.contributor.author |
เตือนใจ โก้สกุล |
|
dc.contributor.author |
จิตรา เศรษฐอุดม |
|
dc.contributor.author |
ชนินทร์ เจริญพงศ์ |
|
dc.contributor.author |
มานิตย์ อรุณากูร |
|
dc.contributor.author |
ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-12-08T09:35:14Z |
|
dc.date.available |
2023-12-08T09:35:14Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83863 |
|
dc.description.abstract |
QR code เป็นรหัส 2 มิติ ตอบสนองเร็วที่สามารถใช้เสริมระบบฐานข้อมูล ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเรียกดูข้อมูลได้ รหัสระบบนี้มีข้อเด่นที่มีขนาดที่เล็ก บรรจุข้อมูลได้มาก อ่านได้อย่างรวดเร็ว ใช้หน่วยความจำน้อย เรียกข้อมูลจาก QR Code ที่มีรอยฉีกขาด ในระดับ 30% ได้และที่สำคัญสามารถอ่านโดยตรงด้วยโทรศัพท์มือถือ การพัฒนาระบบ QR code สัมพันธ์กับการสร้างฐานข้อมูล การแปลงฐานข้อมูลแต่ละรายการให้อยู่ในรูปที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต การออกแบบการเรียกข้อมูล การสร้างเว็บเพจข้อมูล การแปลงระเบียนให้เป็นสัญลักษณ์ QR code และการทดสอบการใช้งาน การศึกษาพบว่าสามารถนำ QR code มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารได้ ในขั้นต้นได้สร้างโมเดลต้นแบบในการพัฒนาระบบ QR code สำหรับควบคุม กำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ โดยได้ฐานข้อมูล จากรายการความปลอดภัยทางอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ ทั้งหมด 7314 รายการในรูปเครือข่ายอินเตอร์เน็ตออนไลน์แบบอินเตอร์แอกทีฟ โดยใช้โปรแกรม Keywa Reader สำหรับอ่านรหัส สามารถตรวจสอบข้อมูลความปลอดภัยของอาหารเสริมสุขภาพ เช่น ข้อมูลวัตถุดิบ ข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลการรับรองผลิตภัณฑ์ ข้อมูลวิชาการ และข้อมูลคำเตือน ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ การทดสอบในร้านสหกรณ์จุฬาฯ แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถดำเนินการในรูปแบบ QR code ได้จริง โดยการทำงานและใช้งานไม่ซับซ้อน แต่ยังมีจุดอ่อนที่ข้อมูลที่ได้จาก อ.ย. ยังไม่ครอบคลุมสินค้าผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่ปรากฎในท้องตลาดและปัญหาข้อกฎหมายในการห้ามเผยแพร่ข้อมูลที่อาจเชื่อมโยงกับการโฆษณา การปรับจุดอ่อนร่วมกันของทีมงานของโครงการ อย. ภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ และการกำหนดขอบเขตข้อมูลจะช่วยให้การตรวจสอบทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้นำองค์ความรู้ไปขยายผลโดยสร้างโมเดลประยุกต์ในการพัฒนาระบบ QR code สำหรับการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยทางอาหารในโมเดลมะม่วงเพื่อการส่งออกภายใต้มาตรฐาน EUrep G.A.P.TM (Global G.A.P.) สำหรับมะม่วงเป็นไม้ผลส่งออกทีสำคัญของประเทศการรับรองคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์มะม่วง หลังการส่งออก เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยรักษาชื่อเสียง และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในระยะยาว จึงได้นำรหัส 2 มิติมาประยุกต์ ใช้จัดกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วง ในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ในระหว่างปีการผลิต 2009—0 โดยจัดทำฐานข้อมูลการรับรองความปลอดภัย และข้อมูลทางสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยว ในชุดฐานข้อมูล Online และใช้รหัส 2 มิติ เป็นสื่อในการแปลง การสื่อสารข้อมูลคุณภาพและความปลอดภัยนั้น ให้อยู่ในรูปที่สืบค้นได้อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้การสื่อสารข้อมูล คุณภาพ และความปลอดภัย ในระหว่างการผลิต และภายหลังการเก็บเกี่ยวไปสู่มือผู้บริโภค โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่จากลูกค้าปลายทาง การสืบค้นผ่านรหัส 2 มิติ จะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลคุณภาพ และความปลอดภัย ณ จุดรับผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการรับรองคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวให้สามารถทำให้สอดคล้องเวลาจริง โดยไม่มีข้อการจำกัดด้านระยะทาง นอกจากนี้ได้ดำเนินการพัฒนาระบบ QR code สำหรับการรับรองพันธุ์ทุเรียนคุณภาพสายพันธุ์ท้องถิ่น โดยจัดทำฐานข้อมูลคุณภาพ โดยเฉพาะข้อมูลลักษณะพฤกษศาสตร์พันธุ์ จุดเด่น และข้อมูลคุณภาพของเนื้อผล ในชุดฐานข้อมูล Online และใช้รหัส 2 มิติ เป็นสื่อในการแปลง และสื่อสารข้อมูลคุณภาพ ให้อยู่ในรูปที่สืบค้นได้อัตโนมัติ ช่วยให้การสื่อสารข้อมูลการรับรองพันธุ์แท้หรือความตรงพันธุ์ทำได้โดยง่าย สำหรับการประยุกต์ใช้ในการสื่อสารข้อมูลความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อาหารในกลุ่มขนมขบเคี้ยวสำหรับเด็ก ได้การศึกษาข้อมูลขนมขบเคี้ยว โดยพบว่าการให้ข้อมูลโภชนาการ ส่วนประกอบของอาหารโดยเฉพาะ ไขมัน แป้ง เกลือ และ สารปรุงแต่งไม่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับเกณฑ์ที่นักโภชนาการแนะนำ และจากข้อมูลที่รวบรวมได้ ได้สร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้โปรแกรมฐานข้อมูล ไมโครซอฟท์ แอคเซส (Microsoft Access) เชื่อมต่อฐานข้อมูล Online และใช้รหัส 2 มิติ เป็นสื่อในการแปลง และสื่อสารข้อมูลความปลอดภัยและคำเตือน ให้สามาถตรวจสอบได้โดยผู้บริโภคโดยได้นำไปใช้งานจริงโดยในขั้นต้นได้เชื่อมโยงกับเว็บไซด์กินเปลี่ยนโลก |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
QR-code is a 2 dimension quick response code used to compliment to data base system to maximize the access of interactive data calling. This coding system provides several advantages including its small size but accessible to contain large data input, its rapid readable performance, its small memory demanding, its code readable even its condition was damaged to 30% level, and, more importance, its linkable to mobile phone accession. The use of QR code involves with an establishment of database, a translation of the data records to relate with internet accession, a design of data calling pattern, a web page construction, a translation to QR code matrix and a accession test. Our studies revealed the feasibility to apply QR code to facilitate the control and management of information for food quality and safety. Initial model for QR code application was created to facilitate the control and management of information for health supplemented food products by collecting data up to 7314 records and creating the database that accessable online through internet interactive. Via Keywa Reader for code reading directive, consumer can simply access data on raw materials used, assuring data, general scientific fact and the related warning information through the mobile phone. The demonstration at Co-op Shop at Chulalongkorn University showed the system performance that was easy to use, however, the system still faced the restriction for open application due to the data limitation not covering to real products available on the market and the limitation of Thai Law not allowing to distribute any data that might relate with product's advertisement. The adjustment of the contents by sharing the knowledge among project staff, the authorized Thai FDA and the product owner would help for expanding this application. The expanding of QR code application was also demonstrated for the communication of EUrep GA P.™ (Global GAP.) quality and safety assuring of mango for export. Mango is an indigenous and important fruit crop of Thailand. The quality and safety assurance in mango after export is one of the promising strategic ways to maintain good quality reputation with high standard for Thai mango product in long run. In order to communicate quality and safety information during production and post harvesting to consumers, 2-dimension code was applied for high quality production by mango growers in Wang Tong district, Phitsanulok province during 2009-1 0 crop year. Database for quality and safety assurance and post harvest physiological data were established in interactive inferring format allowing customers as the end users to access quality information through 2-dimension code based via their mobile phone at their buying point. This strengthens the potential in quality assurance at post harvesting in real-time conditions without distance restriction. Moreover, our project expanded the application of QR code for local durian cultivar authentication. By collecting the bio data of local durian cultivars especially the botanical characteristics, their unique properties, and their fruit qualities, ithe online platform was established in form of 2 dimension code oriented accession. Consumer can access the communication data on cultivar authentication and it assurance simply. For the application of QR code for children snack foods, we had investigated the nutritional contents from their labeling especially the content of lipid, carbohydrate in sugar and related sweeten, salt and unsuitable food additives as recommended by nutrition scientist. Data of children snack foods were collected and database was established using Microsoft Access software in the interactive inferring format allowing customers as the end users to access quality information through 2-dimension code based via their mobile phone. This allows consumer to access safety data and warning for children snack foods. Distribution of the use of system was carried out via internet linked with Food for Change website. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2551-2554 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
อาหาร -- มาตรการความปลอดภัย |
en_US |
dc.subject |
อาหาร -- การควบคุมคุณภาพ |
en_US |
dc.subject |
อาหารเสริม -- มาตรการความปลอดภัย |
en_US |
dc.subject |
อาหารเสริม -- การควบคุมคุณภาพ |
en_US |
dc.subject |
คิวอาร์โคด |
en_US |
dc.title |
โครงการวิจัยเรื่องพัฒนาระบบข้อมูลรหัส 2 มิติและการควบคุมเชิงบูรณาการในการกำกับดูแลคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร : โมเดลเริ่มต้นในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร : รายงานการวิจัย |
en_US |
dc.title.alternative |
Development of two dimension code based system and its integrated control for food safety and quality assurance : initial model in supplemented food products |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |