dc.contributor.advisor | ปภัสสรา ชัยวงศ์ | |
dc.contributor.author | พิเชษฐ์ แตงอ่อน | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T09:51:59Z | |
dc.date.available | 2024-02-05T09:51:59Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84109 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาคุณลักษณะการสื่อสารของนวัตกรที่มีประสิทธิผลในเครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรมของประเทศไทย เป็นการวิจัยเพื่อการสำรวจหรือการวิจัยเชิงบุกเบิกด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนวัตกรที่มีประสิทธิผล (มีผลงานอย่างต่อเนื่อง) จำนวน 20 ท่าน คัดเลือกแบบหลายขั้นตอนร่วมกับการคัดเลือกแบบเจาะจงจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกเป็นเครื่องมือหลักในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. โครงสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์: เครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรมที่นวัตกรที่มีประสิทธิผลสังกัด ประกอบด้วยสมาชิกความเชี่ยวชาญหลากหลาย (สหวิทยาการ/สหวิชาชีพ) แต่มีทัศนคติและวิธีคิดสอดคล้องกัน จึงทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกในเครือข่ายฯ ได้รับมอบหมายบทบาทแตกต่างกันตามศักยภาพ และมีความสัมพันธ์กันบนพื้นฐานการทำงานเป็นหลัก โดยเครือข่ายฯ มีผู้นำ (มักได้แก่ตัวนวัตกรที่มีประสิทธิผล) รวมถึงผู้จัดการที่มีทักษะการสื่อสาร มีภาวะผู้นำสูง รอบรู้หลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนได้เร็ว รวมถึงมีทักษะการบริหารจัดการที่สามารถควบคุมปัจจัยในการทำงานที่ยากภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากรและเวลาได้ นอกจากนี้ นวัตกรในเครือข่ายฯ จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากสามารถ 1) เชื่อมโยงกับสมาชิก/หน่วยงานที่มีต้นทุนทางสังคมสูง ได้แก่ สมาชิก/หน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับระดับสูง และ/หรือมีเครือข่ายด้านแหล่งทุนที่พร้อมและเอื้อต่อการทำงาน และ 2) ดำเนินงานภายใต้องค์กรที่มีระบบงานสนับสนุนซึ่งเอื้อต่อกระบวนการสังเคราะห์นวัตกรรม หรือเอื้อต่อการพัฒนาเครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรมให้เป็นหน่วยงานใหม่ที่มีข้อจำกัดในการทำงานน้อยลง 2. พฤติกรรมการสื่อสาร: สมาชิกเครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรมที่นวัตกรที่มีประสิทธิผลสังกัด มักเปิดกว้างทางความคิดแต่ยังปรากฏการคิดตามกลุ่ม (groupthink) บ้าง มักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยแบบไม่เป็นทางการ เพราะคล่องตัวและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที มีพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล/การถ่ายทอดความรู้แบบทุกทิศทางและเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยการแสดงความคิดเห็นที่เป็นที่ยอมรับต้องมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน ในกรณีของการทำงานเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน สมาชิกเครือข่ายฯ จะโต้แย้งแสดงเหตุผลเพื่อลดให้เหลือเฉพาะตัวเลือกที่สำคัญแล้วให้ผู้นำเครือข่ายตัดสินใจอีกครั้ง นอกจากนี้ แนวทางสำคัญของการสื่อสารภายในเครือข่ายฯ ได้แก่ 1) การเปิดกว้างให้สมาชิกสื่อสารได้ทุกเรื่อง 2) ผู้นำ/ผู้จัดการควรสร้างกระบวนการทำงานและการสื่อสารที่ถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็ว 3) สมาชิกควรมีทักษะในการสื่อสารให้เข้าใจง่าย และทราบว่าต้องสื่อสารเรื่องใด กับใคร อย่างไร และ 4) มีการจัดการความรู้ (เช่น จัดทำคู่มือ รายงาน แนวปฏิบัติที่ดี ฯลฯ) เพื่อลดขั้นตอนในสิ่งที่ต้องสื่อสารกันบ่อยครั้ง | |
dc.description.abstractalternative | This qualitative research was aimed to explore the communication characteristics of effective innovators in innovation synthesis networks in Thailand. From the patent-search database provided by the Department of Intellectual Property, multi-stage and purposive samplings were conducted to select 20 effective and renowned innovators with continuously successful innovations for in-depth interviews as the main research tool. Then thematic analysis was employed to analyze transcribed data. The results were divided into two parts: 1. Network structure and relationship: innovation synthesis networks of the effective innovators comprised innovator members from diverse expertise (interdisciplinary/interprofessional), yet having shared attitudes and mindset, which enabled them to work together effectively in task-oriented basis. Different roles were assigned to the members according to their abilities and potential. Leadership competencies and crucial communication skills of the network leaders (mostly the innovators themselves)/managers included, for instance, being well-rounded, being jack-of-all-trades, being decisive, and being able to manage challenging factors and tasks under resource and time limitation. Moreover, the innovators would be more effective if they could 1) connect with collaborators/entities with high social capital i.e. those reputable individuals or leading organizations, which could make funding sources and/or right collaboration accessible; 2) work with/under entities, which could provide supportive work system to the innovation synthesis process or allow them to initiate/develop an extension office with less work limitation. 2. Communication behavior: members of the innovators’ networks were open-minded in general, still groupthink behavior was found among them from time to time. They often worked together in informal small groups as the setting was flexible and allowed them to solve problems immediately. Their Information exchange and knowledge transfer behaviors with solid evidence occurred from all directions and at all times throughout the innovation synthesizing process. The larger group work was employed mainly for problem-solving and decision-making. In such setting, the members generally discussed in arguable and reasoning fashions to find optimized scenarios and propose to the team leader for final decision. Key communication characteristics, which enhanced the effectiveness of the network found in this study, were: 1) openness, 2) the leaders/managers should facilitate effective work procedure, as well as correct, clear and concise communication during the synthesizing process, 3) the members should have relevant tactical skills and strategic knowledge of communication (to communicate what, with whom, why and how), and 4) the knowledge management (e.g. manuals, reports, and best practices) should be employed to streamline the communication process. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Social Sciences | |
dc.subject.classification | Information and communication | |
dc.subject.classification | Psychology | |
dc.title | คุณลักษณะการสื่อสารของนวัตกรที่มีประสิทธิผลในเครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรม | |
dc.title.alternative | Communication Characteristics of Effective Innovator in Innovation Synthesis Network | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |