Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10022
Title: ปัญหาเขตอำนาจศาลและการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับคดีภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
Other Titles: Jurisdictional and procedural problems relating to the tax cases under the revenue code
Authors: สดุดี ธนกิจเจริญพัฒน์
Advisors: ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tithiphan.C@Chula.ac.th
Subjects: เขตอำนาจศาล
ศาลภาษีอากร
การพิจารณาและตัดสินคดี
รัษฎากร -- ไทย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คดีภาษีอากรที่มีประเด็นการโต้แย้งสิทธิจากกระบวนการตามประมวลรัษฎากร ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลภาษีอากรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 มีลักษณะเป็นคดีพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีซึ่งฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายปกครอง กับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้อยู่ใต้ปกครอง อันเป็นลักษณะความสัมพันธ์ที่มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน จึงถูกจัดอยู่ในประเภทคดีปกครอง ซึ่งในการวินิจฉัยชี้ขาด ต้องมีการกำกับดูแลเป็นพิเศษบนหลักการสำคัญแห่งกฎหมายปกครอง ได้แก่ การใช้วิธีพิจารณาคดีแบบไต่สวนอันเป็นวิธีการลดช่องว่างความเสียเปรียบ ในการนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ของเอกชน และการได้รับการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายภาษีอากร กฎหมายปกครองและมีความชำนาญพิเศษโดยอาศัยประสบการณ์ในการบริหารรัฐกิจ ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักประกันความเป็นธรรมแก่เอกชนผู้เสียภาษีอากร กรณีได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยมีมูลเหตุจาก มาตรการการจัดเก็บภาษีอากรขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายภาษีอากรของรัฐ และในขณะเดียวกันก็รักษาประโยชน์สาธารณะอันทำให้ไม่เป็นอุปสรรค ในการบริหารงานการจัดเก็บภาษีของรัฐได้อีกประการหนึ่งด้วย แต่จากการศึกษาคำวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรทางตุลาการที่เกี่ยวข้อง พบว่าการวินิจฉัยชี้ขาดของศาลภาษีอากรในบางเรื่อง ยังไม่อาจเยียวยาเพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่เอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องจากการจัดแบ่งเขตอำนาจศาลและการดำเนินคดีภาษีอากร ของศาลภาษีอากรที่ยังขาดความชัดเจนแน่นอน และไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายปกครองดังกล่าวข้างต้น ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาปัญหาเรื่องความไม่เหมาะสมสอดคล้องในลักษณะต่างๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องเขตอำนาจศาล และการดำเนินคดีภาษีอากรในศาลภาษีอากร ที่ส่งผลกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมแก่เอกชน พร้อมกันนั้นก็ได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลภาษีอากร ให้มีรายละเอียดชัดเจนแน่นอนและออกกฎหมายวิธีพิจารณาความพิเศษ เพื่อกำหนดให้มีกลไกการส่งต่อประเด็นการวินิจฉัยความชอบ ของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ระหว่างศาลภาษีอากรกับศาลปกครอง เพื่อแก้ไขปัญหาการโต้แย้งเขตอำนาจศาลภาษีอากร 2. ออกกฎหมายแก้ไขข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ให้มีลักษณะสอดคล้องกับวิธีพิจารณาคดีปกครองในระบบไต่สวน และ 3. ออกกฎหมายกำหนดวิธีพิเศษในการคัดเลือก และแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาศาลภาษีอากร โดยใช้เกณฑ์ความเชี่ยวชาญและความชำนาญพิเศษ เพื่อความต่อเนื่องในการบ่มเพาะความรู้ทางด้านภาษีอากร
Other Abstract: Tax cases on the disputes of rights arising from the process under the Revenue Code, which is subject to the jurisdiction of the Tax Court under Section 7 of the Act on the Establishment of Tax Court and Procedure B.E. 2528, have a nature in which one party is an Administrative Authority and the other is an Individual. This imports an unequal standing of the parties with prerogatives held by the administration and hence is regarded as administrative cases. Consequently, it needs special adjudicative proceedings under the principles of administrative law for administrative review, e.g. the Inquisitorial System which will reduce any disadvantages in the process involving an introduction of evidence to demonstrate the fact by the taxpayers. Furthermore, the adjudication by professional and practiced judges both in tax and administrative laws, particularly those with experience in administrative affairs, will secure fairness to the taxpayers throughout the judicial remedies from the measures of the tax collection and at the same time will also maintain the public interest and not hinder the administration of tax collection. However, after careful study of the decisions of related judicial reviews, it is found that the decisions of the Tax Court in some cases are unable to efficiently provide any remedies to the taxpayers because the separation of the jurisdiction and adjudicative proceedings in the Tax Court are unclear and nonconforming to the principles of administrative law as stated hereinabove. This thesis aims to investigate the problems resulting from any unclear and nonconforming jurisdiction and adjudicative proceedings in the Tax Court and then propose enactment of and amendment to legislation in three aspects, i.e. 1. Clarification of the scope of the cases under the jurisdiction of the Tax Court, and also enactment of the special Court Procedure empowering the Tax Court to transfer the issue on the legality of tax regulations to the Administrative Court in order to dispose of the conflict of the Tax Court jurisdiction and conflict of decisions; 2. Revision of the Tax-Case Rules and Regulations B.E. 2544 to be in compliance with the Inquisitorial-System in Administrative Review; and 3. Amendment of the procedure of recruitment of tax judges and their career structure by adopting specialization and skill criteria for the merit of uninterrupted persistence of skill in the practice of tax law .
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10022
ISBN: 9741748507
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sadudee.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.