Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10897
Title: ความสามารถทางการสื่อสารระหว่างบุคคลในบริษัทนานาชาติญี่ปุ่น
Other Titles: Interpersonal communication competence of the superiors and the sub-ordinates in Japanese companies
Authors: สุชาดา สุขเสถียรพาณิชย์
Advisors: เมตตา วิวัฒนานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Metta.V@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารระหว่างบุคคล
การสื่อสารในองค์การ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบความหมายและคุณลักษณะ ที่แสดงความสามารถทางการสื่อสารระหว่างบุคคล จากความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่นกับผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทยว่า มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อทราบถึงปัญหาทางการสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่น และผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทย ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่นในระดับบริหาร และผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทยในองค์กรข้ามชาติญี่ปุ่น ที่ดำเนินการในประเทศไทยจำนวน 6 บริษัท และเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามจากผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่น 55 คน ผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทย จำนวน 75 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความหมายของคำว่า "ความสามารถทางการสื่อสาร" ตามแนวคิดของผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่น จะเน้นความสามารถทางการสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างตัวบุคคลที่สื่อสาร (Competence is "between" the communicators) คือ ความสามารถของผู้รับสารในการทำความเข้าใจสารและวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร โดยมีความเข้าใจในบุคลิกลักษณะ ภูมิหลังและวัฒนธรรมของผู้ที่สื่อสารเป็นองค์ประกอบสำคัญ ทำให้การทำความเข้าใจสารนั้นยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ (Situation oriented) ส่วนแนวคิดของผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทย จะเน้นความสามารถเฉพาะตัวบุคคลของผู้ที่สื่อสาร (Competence is "within" the communicators) คือ ความสามารถในการส่งสารของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ให้มีความเข้าใจความหมายตรงกันโดยพิจารณาถึง การตอบรับของผู้รับสารว่าตรงตามความต้องการของผู้ส่งสารหรือไม่ นอกจากนี้ความสามารถทางการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่น เน้นความสามารถในเชิงวัฒนธรรมเฉพาะ (Culture Specific) ในขณะที่ความสามารถทางการสื่อสารของผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทย เน้นความสามารถในเชิงวัฒนธรรมสากล (Culture General) 2. จากการลำดับความสำคัญของคุณลักษณะ ที่แสดงความสามารถทางการสื่อสารที่ผู้บังคับบัญชา "ควรจะมี" ที่สำคัญที่สุด 5 อันดับแรก พบว่าผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่นและผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทย มีความคิดเห็นตรงกัน 5 ประเด็นคือ เปิดกว้างและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็น มอบหมายและสั่งงานได้อย่างชัดเจน รับฟังปัญหาและคำแนะนำต่างๆ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเปิดเผยและถูกต้องชัดเจน สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้ด้วยความเต็มใจ แต่พบว่าผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่นและผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทย มีความคิดเห็นต่อความสามารถทางการสื่อสารของผู้บังคับบัญชา ในการปฏิบัติจริงไม่ตรงกัน 3. จากการจัดลำดับความสำคัญของคุณลักษณะ ที่แสดงความสามารถทางการสื่อสารที่ผู้ใต้บังคับบัญชา "ควรจะมี" ที่สำคัญที่สุด 5 อันดับแรก พบว่าผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่นและผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทยมีความคิดเห็นตรง กันใน 4 ประเด็นคือ เปิดเผยข้อมูลต่างๆ อย่างโปร่งใสแม้กระทั่งความผิดพลาดในการทำงาน ให้ข้อมูลแก่ผู้บังคับบัญชาอย่างเปิดเผยและถูกต้องชัดเจน สามารถแสดงความรับผิดชอบโดยตรงต่องานที่ผิดพลาด รับฟังคำแนะนำของผู้บังคับบัญชาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน แต่พบว่าผู้บังคับบัญชาชาวญี่ปุ่นและผู้ใต้บังคับบัญชาชาวไทย มีความคิดเห็นต่อความสามารถในการสื่อสารของผู้ใต้บังคับบัญชา ในการปฏิบัติจริงไม่ตรงกัน
Other Abstract: To compare the definition and the characteristics of communication competence between the Japanese superiors and the Thai subordinates in Japanese companies. The study shows the similarity and the difference of how the two parties think about their interpersonal communication skills. This study was conducted by survey questionnaires to 55 Japanese in executive positions and 75 Thai subordinates in Japanese companies in Bangkok and greater Bangkok and by 6 in-depth interviews. The result of the study shows that 1) The meaning of "communication competence" according to the Japanese superiors is based on the idea that the communication competence is 'between' the communicators, while the Thai subordinates view "communication competence" as characteristics 'within' the communicators. This means that the Japanese superiors take into account the background and culture of the communicators while interpreting the messages. Namely, this type of communication competence can be viewed as "situational oriented" while the Thai subordinates places more emphasis on the sender's ability to send massage and create common understanding between the communicators. In brief, communication competence of Japanese superiors is relatively "culture specific", while communication competence of Thai subordinates is "culture general". 2) Both superiors and subordinates agree on the five most important characteristics that competent superiors should possess. These characteristics are being open-minded and supportive to subordinates' opinions, clarifying job assignments, being open to subordinates' problems and concerns, and being able to give advice when needed, giving correct information to subordinates and being able to persuade them. However, both parties do not agree on these five qualities in real practice. 3) Both superiors and subordinates agree on the four most important characteristics that competent subordinates should possess. These characteristics are honestly revealing all concerned information including their work mistakes, giving correct information to superiors, being responsible for all their mistakes, listening and trying to implement superiors' advice. However, both parties do not agreed on these four qualities in real practice
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10897
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.463
ISBN: 9741732775
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.463
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada.pdf7.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.