Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10905
Title: | บทบาทการวินิจฉัยของระดับ ซีเอ 19-9 จากน้ำดีในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของทางเดินน้ำดีอันเกิดจากโรคมะเร็ง |
Other Titles: | Diagnostic role of biliary CA 19-9 for malignant biliary stricture |
Authors: | ประเดิมชัย คงคำ |
Advisors: | รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร อรวดี หาญวิวัฒน์วงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | rungsun@pol.net Orrawadee.H@Chula.ac.th |
Subjects: | ทางเดินน้ำดี -- มะเร็ง Tumor markers |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | คำนำ: ปัจจุบัน Serum CA 19-9 ได้รับการใช้เป็น Tumor marker ที่ได้ประโยชน์ในการจำแนกโรคมะเร็งของตับอ่อนและทางเดินน้ำดี อย่างไรก็ตามจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า Serum CA 19-9 มีความไวน้อยกว่า 55% ในการวินิจฉัยแยกมะเร็งทางเดินน้ำดีซึ่งไม่ได้เกิดจากภาวะ Primary Sclerosing Cholangitis (PSC) นอกจากนั้นยังมีข้อมูลไม่มากนักเกี่ยวกับบทบาทของระดับ CA 19-9 ในน้ำดีในผู้ที่มีการอุดตันทางเดินน้ำดีจากมะเร็งตับอ่อน ด้วยภาวะการหมุนเวียนของน้ำดีจากลำไส้สู่กระแสเลือดโดยตับ ดังนั้น การวิเคราะห์ระดับของ CA 19-9 ในน้ำดีอาจเพิ่มความไวในการวินิจฉัยแยกสาเหตุการอุดตันทางเดินน้ำดี ที่เกิดจากมะเร็งทางเดินน้ำดีและตับอ่อน จุดประสงค์: ต้องการพิสูจน์ว่าระดับของ CA 19-9 ในน้ำดีนั้นสามารถใช้ในการวินิจฉัยแยกสาเหตุการอุดตันทางเดินน้ำดีที่เกิดจากมะเร็งได้หรือไม่ วิธีการ: มีผู้ป่วย 59 ราย ที่มีทางเดินน้ำดีอุดตันและได้รับการทำการส่องกล้องทางเกิดน้ำดี (ทางเดินน้ำดีอุดตันจากสาเหตุที่ไม่ใช่มะเร็ง 21 ราย และจากมะเร็งของตับอ่อนหรือทางเดินน้ำดี 38 ราย) จากนั้นได้นำน้ำดีซึ่งไม่มีการปนเปื้อนกับวัสดุที่ใช้ฉีดสีจากในท่อน้ำดีมาตรวจวัดระดับ CA 19-9 แล้วนำมาวิเคราะห์ หาความไว ความจำเพาะ ความถูกต้องของสาเหตุการอุดตันทางเดินน้ำดี ผลการศึกษา: หลังจากการวิเคราะห์พบว่า เมื่อใช้ระดับของ CA 19-9 ในน้ำดีที่ 80,000 U/ml เป็นจุดตัดจะได้ค่าความไว 63% ความจำเพาะ 62% โดยเมื่อใช้ระดับของ Serum CA 19-9 ที่ 100 U/ml เป็นจุดตัดจะได้ค่าความไว 53% ความจำเพาะ 86% พื้นที่ใต้กราฟ ROC ของ Biliary CA 19-9 คือ 0.629 ส่วนของ serum CA 19-9 คือ 0.736 สรุป: ระดับของ CA 19-9 ในน้ำดีมีความไวดีกว่าระดับของ CA 19-9 ในน้ำเลือดสำหรับการจำแนกสาเหตุการอุดตันทางเดินน้ำดี และอาจนำมาใช้คัดกรองได้ถึงแม้จะมีความจำเพาะน้อยกว่าก็ตาม |
Other Abstract: | Introduction: Currently serum CA 19-9 is accepted as a useful tumor marker for primary pancreatico-biliary malignancy. However, previous studies have shown that serum CA19-9 has sensitivity of less than 55% in the diagnosing of cholangiocarcinoma (CCC) of patients without primary sclerosing cholangitis (PSC). In addition , there is little information about the role of biliary CA 19-9 in pancreatic cancer (PC) presented with biliary obstruction. With enterohepatic recirculation, CA 19-9 concentration in the bile is higher than in the serum. Thus, analyzing CA 19-9 in the bile may increase the sensitivity for detecting CCC and PC. Aim: To determine whether using biliary CA19-9 will improve sensitivity for the diagnosis of biliary obstructed PC and non PSC-CCC. Patient and methods: There were 59 patients with biliary obstruction who underwent ERCP for endoscopic biliary drainage (benign stricture = 21, CCC and PC =38). Bile was collected during ERCP without dye contamination. Biliary CA 19-9 level were determined by ELISA technique. Sensitivity, specificity, accuracy for diagnosis of biliary stricture cause were calculated. Results : By using receiver operating characteristic (ROC) curve analysis, concentration of biliary CA 19-9 greater than 80,000 U/ml is the best cut off value in malignant biliary stricture. Sensitivity, specificity, are 63%, 62% respectively. And when using serum CA 19-9 greater than 100 U/ml as cut off point sensitivity, specificity, are 53%, 86% respectively. Area under biliary CA19-9 and serum CA 19-9 ROC curve was 0.629, 0.736 respectively Conclusion : Biliary CA 19-9 seems to have higher sensitivity than serum CA 19-9 for malignant biliary stricture detection and may be used as screening although lesser specificity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10905 |
ISBN: | 9741732007 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pradermchai.pdf | 533.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.