Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10989
Title: ผลการเรียนโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์อักษรไขว้ ที่มีต่อความรู้ในการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อการวินิจฉัยทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล
Other Titles: The effect of using computerized puzzle game on nursing diagnosis vocabularies knowledge of nursing students
Authors: น้ำค้าง แสงสว่าง
Advisors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
สุกัญญา แสงมุกข์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
เกมคอมพิวเตอร์
ปริศนาอักษรไขว้
Nursing -- Study and teaching
Computer-assisted instruction
Computer games
Crossword puzzles
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลการเรียนก่อนและหลังใช้เกมคอมพิวเตอร์อักษรไขว้ ต่อความรู้ในการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อการวินิจฉัยทางการพยาบาล และเปรียบเทียบความรู้ในการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อการวินิจฉัยทางการพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ใช้เกมคอมพิวเตอร์อักษรไขว้ กับกลุ่มที่ใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2542 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีลำปาง จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง แล้วจัดกลุ่มด้วยวิธีจับคู่ แบ่งเป็นกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้เกมคอมพิวเตอร์อักษรไขว้ จำนวน 15 คน และกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ จำนวน 15 คน ทดลองโดยวิธีสอบก่อนและหลังการใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์อักษรไขว้และเอกสารประกอบการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ในการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อการวินิจฉัยทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติทดสอบ The Wilcoxon matched Pairs Signed-Ranks Test และ The Mann-Whitney U test ผลการทดลองพบว่า 1. ความรู้ในการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อการวินิจฉัยทางการพยาบาล ภายหลังใช้เกมคอมพิวเตอร์อักษรไขว้สูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความรู้ในการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อการวินิจฉัยทางการพยาบาล ของกลุ่มที่เรียนโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์อักษรไขว้ สูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To compare nursing diagnosis knowledge of nursing student before and after studied by using computerized puzzle game and to compare knowledge between the students who studied by using computerized puzzle game and those that read hand out. The sample were 30 second year nursing students of Lampang Baromratchonnee College of Nursing selected by purposive sampling and assigned into two experimental groups, (15 each) by using match pair designed method. Pretest-posttest control group design was used in this study. The first group studied by using computerized puzzle game and the second group studied by reading hand out. The research instruments were computerized puzzle game and nursing diagnosis vocabularies test. The instruments has been tested for content validity and reliability of the test was .70. Data were analyzed by using The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test and The Mann Whitney U Test. The finding revealed that: 1. Knowledge of nursing student regarding nursing diagnosis vocabularies after studied by computerized puzzle game was significant higher than before at the .05 level. 2. Knowledge of nursing student regarding nursing diagnosis vocabularies in the group using computerized puzzle game was significant higher than the group which studied hand out at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10989
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.534
ISBN: 9743337202
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.534
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Namkhang_ Sa_front.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ756.49 kBAdobe PDFView/Open
Namkhang_ Sa_ch1.pdfบทที่ 1783.52 kBAdobe PDFView/Open
Namkhang_ Sa_ch2.pdfบทที่ 21.18 MBAdobe PDFView/Open
Namkhang_ Sa_ch3.pdfบทที่ 3822.05 kBAdobe PDFView/Open
Namkhang_ Sa_ch4.pdfบทที่ 4726.2 kBAdobe PDFView/Open
Namkhang_ Sa_ch5.pdfบทที่ 5762.65 kBAdobe PDFView/Open
Namkhang_ Sa_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.