Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11109
Title: | การศึกษาความพร้อมของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A study on the readiness of lower secondary school science teachers for developing school curriculum in the science strand, Bangkok Metropolis |
Authors: | สุธี เหลืองมณีเวชย์ |
Advisors: | อลิศรา ชูชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Alisara.C@chula.ac.th |
Subjects: | การวางแผนหลักสูตร ครูกับการวางแผนหลักสูตร ครูวิทยาศาสตร์ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความพร้อมของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากร คือ ครูผู้สอนวิชา วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในระดับดี เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับดี และมีความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับน้อย ส่วนความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้ในระดับควรปรับปรุง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้เกี่ยวกับการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรในระดับน้อย และ มีความรู้ในระดับควรปรับปรุง 4 เรื่อง คือ การกำหนดเนื้อหาสาระ การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร 2. โรงเรียนส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมให้กับครูวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยการจัดประชุม สัมมนา หรืออบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมให้กับครูวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามากที่สุด คือ สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องที่ครูวิทยาศาสตร์ต้องการเสริมความรู้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามากที่สุด คือ การวางแผนจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และการบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ ใช้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามากที่สุด ปัญหาของครูในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ มีภาระงานมาก และมีระยะเวลาในการเตรียมตัวสำหรับการพัฒนา หลักสูตรสถานศึกษาไม่เพียงพอ |
Other Abstract: | Studies the readiness of lower secondary school science teachers in school curriculum development in the science strand, Bangkok Metropolis. The sample used in this research were 308 lower secondary school science teachers. The research instrument was a questionnaire. The obtained data were analyzed by percentage, arithmetic mean, mean of percentage and standard deviation. The research findings were summarized as follow: 1. Knowledge of science teachers in school curriculum, science strand was at the high level. When in each area, knowledge of science teachers in learning standards and science strands was at the high level, but knowledge in goals and vision of science instructions was at the low level; regarding to the knowledge in school curriculum development process it was at the should improve level. When in each area, Knowledge of science teachers in goal setting of the curriculum was at the low level, but knowledge in the determination of contents, learning activity, curriculum implementation and curriculum evaluation were at the should improve level. 2. Most schools prepared science teachers for school curriculum development by conferences, seminars and workshops. The organization of science teacher's preparation in school curriculum development mainly was the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. The knowledge and skill's science teachers need to improve for developing school curriculum were science lesson planning and learning unit integration. Most science teachers used the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology as main resource. The problems of science teachers in school curriculum development were work load and not enough time in preparation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11109 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.760 |
ISBN: | 9741798164 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.760 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.