Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11178
Title: รูปแบบการเดินทางของประชากรกลางวัน เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตสาทร
Other Titles: Trip patterns of day time population to the Bangkok city center : a case study of Sathorn district
Authors: สุกัญญา ชัยพงษ์
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suwattana.T@Chula.ac.th
Subjects: เมือง -- การเจริญเติบโต
การเดินทาง
การขนส่งในเมือง
สาทร (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษารูปแบบการเดินทางได้แก่ระยะทาง ค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการเดินทาง เป็นต้น และศึกษาปัญหาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ รูปแบบการเดินทางของประชากรกลางวัน(Day Time Population) ซึ่งได้แก่ผู้ที่เดินทางเข้ามาทำกิจกรรม ในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานครในช่วงเวลา 05.00-18.00 น. โดยมีทั้งผู้ที่อยู่ในพื้นที่และเดินทางมาจากนอกพื้นที่ การศึกษาในครั้งนี้ได้ใช้เขตสาทรเป็นพื้นที่ศึกษา ซึ่งเขตสาทรเป็นย่านที่มีแหล่งรับการเดินทางมาก และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะแหล่งงาน เนื่องจากพื้นที่ติดกับย่านศูนย์กลางพาณิชยกรรม (Central Business District หรือ CBD) มีโครงข่ายหลักที่สามารถเชื่อมกับพื้นที่ส่วนต่างๆ ของเมืองได้สะดวก ทำให้เกิดการเดินทางของประชากร เข้าสู่พื้นที่เขตสาทรมาก การศึกษารูปแบบการเดินทางได้ศึกษาจากประชากร ที่เข้ามาทำกิจกรรมโดยมีจุดปลายทางการเดินทางประเภทแหล่งงาน สถานศึกษา และย่านการค้าและบริการ พบว่าการเดินทางเข้ามาทำงานใช้รถยนต์ส่วนตัวมากที่สุด คิดเป็น 44.7% เดินทางในระยะทางไกลที่สุด 40 กม. การเดินทางเข้ามาใช้บริการย่านการค้า และบริการใช้ขนส่งสาธารณะมากที่สุด 38% เช่นเดียวกับการเดินทางมาสถานศึกษาคิดเป็น 54.67% เดินทางในระยะทางไกลที่สุด 20 กม. ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 48.35 35.03 30.4 นาที และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 39.84 31.89 13.69 บาท ตามลำดับ เนื่องจากไม่สามารถเลือกจุดปลายทางในการเดินทางได้ จึงเป็นความจำเป็นในการเดินทางเข้ามาในพื้นที่เขตสาทร ประกอบกับความเคยชินกับปัญหา จึงมีความพึงพอในต่อการเดินทางโดยรวมสูง ส่วนปัจจัยต่างๆ พบว่ามีความพึงพอใจด้านความสะดวก รวดเร็ว และความหลากหลายในการเดินทางต่ำ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการเดินทางคือ ลักษณะของผู้เดินทางเอง ลักษณะทางกายภาพนั่นคือ การกระจุกตัวของแหล่งรับการเดินทางไม่ว่าจะเป็นแหล่งงาน สถานบริการและสถานศึกษา ที่ดึงดูดการเดินทางเข้ามาประกอบกับ ลักษณะโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง จากการศึกษาพื้นที่พบว่า ควรมีการจัดการด้านการใช้ที่ดิน โดยลดการขยายตัวของแหล่งรับการเดินทางในพื้นที่ และกระจายไปในพื้นที่อื่นที่มีความเหมาะสม จัดการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพื่อที่อยู่อาศัย ที่น่าอยู่ในพื้นที่เพื่อส่งเสริมการเดินทางในระยะสั้น ประกอบกับสร้างทางเลือกด้านการเดินทางประเภทขนส่งมวลชน ซึ่งสามารถขนคนได้จำนวนมาก เสียค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยภายในพื้นที่ เนื่องจากในครั้งนี้เป็นการศึกษาเพียงพื้นที่หนึ่งของศูนย์กลางเมือง ดังนั้นควรศึกษาในพื้นที่อื่นๆ ที่มีจุดปลายทางการเดินทางกระจายตัวอยู่ทั่วไป เพื่อให้ทราบรูปแบบการเดินทางอย่างชัดเจนและสามารถนำผลการศึกษาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อการวางแผนด้านการใช้ที่ดินและการจราจรอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ใจกลางเมืองและพื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
Other Abstract: To study commuting, or travel patterns, including the modes of transport, costs, distances and travel times as well as the problems and factors that affect day time population travelling from the outskirts to the city center between 5.00 a.m. to 6.00 p.m. Sathorn district was selected as the area for this study as it is considered an important and still growing Central Business District, or CBD, that attracts large numbers of persons each day. Furthermore, it has a number of different networks that connect and provide convenient access to the area. The study found that there were a number of different reasons that attracted commuters to Sathorn. These included offices and places of work, educational institutions, shopping venues and service outlets. The largest percentage of those travelling here for work came by private car, or 44.7%. The longest distance they traveled was 40 kilometers. The largest number coming to shop or engage a service, or 38%, traveled by public transport, which was also true of 54.67% students. The longest distance they traveled was 20 kilometers. The average time the three groups traveled was 48.35, 35.03 and 30.4 minutes, respectively, and their average costs were 39.84, 31.89 and 13.69 baht, respectively. They would travel to Sathorn because they had no real choice in selecting their final destination. Still, even with the problems sometimes faced, they were relatively satisfied with travel convenience, speed and choices. The major factor as to the mode of transport depended on each individuals personal situation. It was found that an area that attracts large numbers of persons, whether it be for work, study or service, travel choices will be determined by the different afforded transport networks. The results of this research showed that rather than continue to develop congested areas, or areas that attract large number of persons, it would be better to develop other areas that could cater as well to different needs. Residential and infrastructure development should take place short commuting, or travel, can be promoted. This also means the construction of mass transit networks which can handle large numbers of travelers, is relatively inexpensive and consumes low amounts of energy. It must be remembered, this study focused on just one central city district. Other areas should also be researched and surveyed to acquire a clearer understanding of the choices of transport and use the findings to in developing plans for land, or zone as well as transport development for city center districts as well as other parts of the Bangkok metropolitan areas.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11178
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.309
ISBN: 974038724
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.309
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanya.pdf9.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.