Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11464
Title: การพัฒนากฎหมายในส่วนของการมีส่วนร่วมขององค์การพัฒนาเอกชนในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
Other Titles: Law development on the NGO participation for environmental protection
Authors: สุชินต์ ดรุณพันธ์
Advisors: สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sunee.M@chula.ac.th
Subjects: กฎหมายสิ่งแวดล้อม
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
การมีส่วนร่วมทางสังคม
องค์กรพัฒนาเอกชน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเพื่อค้นหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการใช้สิทธิและหน้าที่ขององค์การพัฒนาเอกชนในการมีส่วนร่วมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางของกฎหมายในการรองรับใช้สิทธิและหน้าที่ดังกล่าว จากการวิจัยพบว่า บทบาทขององค์การพัฒนาเอกชนนั้นประกอบด้วย บทบาทในการใช้สิทธิขององค์การพัฒนาเอกชนซึ่งพบว่ามีข้อขัดข้องในด้านต่างๆ คือ ข้อขัดข้องด้านการใช้สิทธิรับทราบข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ข้อขัดข้องด้านการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และข้อขัดข้องด้านการใช้สิทธิในการร้องเรียนกล่าวโทษ บทบาทอีกบทบาทหนึ่ง คือ การปฏิบัติหน้าที่ขององค์การพัฒนาเอกชนนั้น มีข้อขัดข้องในด้านต่างๆ คือ ข้อขัดข้องด้านการปฏิบัติหน้าที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และข้อขัดข้องด้านการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการใช้บทบาทขององค์การพัฒนาเอกชน โดยปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 6 วรรค 1 โดยให้มีเนื้อหาว่า "เพื่อประโยชน์ในการร่วมมือกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติ บุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ดังต่อไปนี้" การใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีสิ่งแวดล้อมควรกำหนดให้องค์การพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและองค์การพัฒนาเอกชนที่ได้รับการรับรองว่าเป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งหรือดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีใดๆ ได้ และมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนประชาชน ส่วนการใช้สิทธิในการดำเนินคดีอาญานั้น ควรกำหนดหลักการไว้ในกฎหมายโดยถือว่า องค์การพัฒนาเอกชนที่ได้พบเห็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมีโทษทางอาญา เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำหรับการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเกี่ยวกับเงินอุดหนุน หรือเงินกู้ เพื่อการดำเนินกิจกรรมขององค์การพัฒนาเอกชน ควรจะกำหนดเงื่อนไขที่เปิดกว้างยิ่งขึ้น ควรกำหนดเงื่อนไขในการรองรับความเป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นองค์การพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมไว้ในกฎกระทรวง ควรกำหนดกลไกในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การพัฒนาเอกชนที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นองค์การพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมโดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่สอดส่อง ดูแลพฤติกรรมขององค์การพัฒนาเอกชน และควรส่งเสริมบทบาทขององค์การพัฒนาเอกชนให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ควรมีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการให้องค์การพัฒนาเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the principle of good faith under section 5 of the Civil and Commercial Code which is a general principle, a foundation of the whole system of civil law. Section 5 is jus aequum which aims at bringing justice to the disputing parties in the court. However, due to the character of legislating a general clause, it is broad and unclear in itself, a buit-in nature of an jus aequum. The principle causes problems and difficulty in its comprehension. In addition, the principle of good faith has broad scope to the extent of causing difficulty in laying down a certain principle. Such an incident causes difficulty in compiling and making precedents of the Supreme Court. The study finds that the siad principle of good faith is a principle of co-existence in a society, a principle which the relevant reasonable man should practice. In the legal sheme it is important for being the foundation of civil law by directing justice to the subject matter under consideration. This thesis thereby carries out a study about the said principle to allow a track of precedent of the Thai Supreme Court decisions which hold a general principle. In fact its application is to create two prongs i.e. the principle in generating equity to the disputing parties and the principle which can be applied to new facts. Both principles are meant for bringing the principle of good faith to apply to the dispute with sufficient certainty. This will allow the user of law to apply, in the most efficient manner, law with good adaptation to bring real justice to the disputing parties who submitted cases to court. It may allow a correction of the gap of justice in a law or a contract. This principle thereby enhances the administration of justice for the public by giving a concrete form which is interwoven into the principle of equity, reason and righteousness in a perfect manner.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11464
ISBN: 9743316183
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchin_Da_front.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Suchin_Da_ch1.pdf879.49 kBAdobe PDFView/Open
Suchin_Da_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Suchin_Da_ch3.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Suchin_Da_ch4.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Suchin_Da_ch5.pdf824.82 kBAdobe PDFView/Open
Suchin_Da_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.