Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11512
Title: การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: An evaluation of master of education program in health education, Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: สุภาพร แนวบุตร
Advisors: รัชนี ขวัญบุญจัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Rajanee.q@chula.ac.th
Subjects: หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
สุขศึกษา -- หลักสูตร
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเมินหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ นิสิต มหาบัณฑิต และผู้บังคับบัญชา มหาบัณฑิต จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งใช้แบบจำลองของซิป เป็นแบบการประเมิน ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังประชากร จำนวน 84 ชุด ซึ่งได้รับข้อมูลกลับคืนมา 78 ชุด เป็นอาจารย์ 5 คน ผู้เชี่ยวชาญ 13 คน นิสิต 10 คน มหาบัณฑิต 25 คน และผู้บังคับบัญชามหาบัณฑิต 25 คน คิดเป็นร้อยละ 92.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า การประเมินบริบท พบว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก โครงสร้างของหลักสูตรด้านจำนวนหน่วยกิตมีความเหมาะสมในระดับมาก ยกเว้น การประเมินของนิสิตเกี่ยวกับรายวิชาเลือก 5 หน่วยกิต เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับน้อย ส่วนเนื้อหาของหลักสูตร ส่วนใหญ่เห็นว่าควรปรับปรุง แต่มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมในระดับมาก มีความจำเป็นสำหรับวิชาชีพ และเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ ในระดับมาก มีความเหมาะสมด้านการจัดการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผลในระดับมาก สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในระดับมาก และมีความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาในระดับน้อย ปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ด้านอาจารย์และนิสิตมีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนปัจจัยเบื้องต้นอื่นๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีความเพียงพอ มีคุณภาพ และมีความสะดวกในการใช้บริการในระดับมาก ยกเว้น แผ่นภาพ แผนภูมิ ภาพพลิก หุ่นจำลอง ห้องเรียน ที่นั่งพักหรือที่ทำงาน การให้บริการถ่ายเอกสารของห้องสมุดคณะ และสถาบันวิทยบริการ มีความเพียงพอ คุณภาพ และความสะดวกในการใช้บริการในระดับน้อย กระบวนการผลิต พบว่า การบริหารหลักสูตรส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับมาก ยกเว้น การสำรวจปัญหาและความต้องการการใช้วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณเพื่อการเรียนการสอนที่ได้รับการจัดสรร การนำผลการประเมินการเรียน-การสอน และการจัดการเรียนการสอน เป็นข้อมูลป้อนกลับ เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน การบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมในระดับน้อย การจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนการวัดและการประเมินผลมีความเหมาะสมในระดับมาก ยกเว้น การนำผลการวัดและการประเมินผลมาปรับปรุงการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับน้อย ผลผลิต พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณสมบัติและความสามารถเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในระดับมาก นอกจากนี้ยังบว่า คุณสมบัติและความสามารถของมหาบัณฑิตที่เป็นจริง และคุณมบัติและความสามารถของมหาบัณฑิตที่ผู้บังคับบัญชาคาดหวัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
Other Abstract: To evaluate Master of Education Program in Health Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University. Eighty-four population in this study were teachers, specialists, graduate students, master's degree graduated, and their employers. The CIPP Model was applied as the evaluation model. Eighty-four questionnaires were sent to the population and 78 or 92.86 percent were retuned. The obtained data were then analyzed in terms of percentages, means, standard deviations, and t-test. The major results were as follows : Context evaluation data indicated that curriculum objectives were recommended suitable at high level. The curriculum structure were also found suitable at high level from every group except number of credits of elective courses were found suitable at low level among graduate students. Most of the population showed that the curriculum content were corresponding to the social needs, necessary to professional, useful to career implication, corresponded to student's needs but most of them agreed that the curriculum content should be improved. Instructional and evaluation activities were also found appropriated and only some content were overlapping. Input evaluation showed that teachers and graduate students were suitable at high level. The instructional supporting units : poster, chart, flipchart, model, classroom, resting or working-place, xerox services of faculty's library and Chulalongkorn University library center were found insufficient, low quality and low convenience. Process evaluation regarding the administration process was found appropriated at the high level except problems and needs survey of curriculum equipment using, budget for instruction process and results of instruction process evaluation feedback to improve the instruction and administration process were found appropriated at low level. The instruction process and curriculum encouraging activities were suitable at high level. Most of the evaluation process were also appropriate at the high level except results of evaluation process feedback to improve instruction process were found suitable at low level. In term of product evaluation, the master's degree graduates were qualified and competent as mentioned in curriculum objective at the high level. Qualifications and competency of the master's degree graduates between the reality and employer's expectation were significantly different at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11512
ISBN: 9746386913
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_Na_front.pdf947.46 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Na_ch1.pdf821.98 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Na_ch2.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Na_ch3.pdf786.56 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Na_ch4.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Na_ch5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Na_back.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.