Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11596
Title: การพัฒนาชุดการสอนไวโอลินตามแนวการสอนของ ชูชาติ พิทักษากร สำหรับนิสิตนักศึกษาที่ไม่ได้ศึกษาไวโอลินเป็นวิชาเอก
Other Titles: The development of violin-pedagogy package according to Choochart Pitaksakorn's teaching method for violin non-major undergraduates
Authors: สุพจน์ ยุคลธรวงศ์
Advisors: สุชาติ ตันธนะเดชา
ชูชาติ พิทักษากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suchart.T@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชูชาติ พิทักษากร
การสอนด้วยสื่อ
ไวโอลิน -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวการสอนเนื้อหาการสอนไวโอลินของ ซูซูกิ แลงกีย์ เปรียบเทียบกับ ชูชาติ พิทักษากร และพัฒนาชุดการสอนเรื่องไวโอลินตามแนวของชูชาติ พิทักษากร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองใช้รูปแบบแผนก่อนทดลอง (Pre-Experimental Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นนิสิตสาขาวิชาเอกดนตรี ที่ไม่ได้ศึกษาไวโอลินเป็นวิชาเอก ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 11 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาเอกสารและเข้าสังเกต กิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา 2712213 เครื่องสาย ภาคปลาย ปีการศึกษา 2539-2540 ซึ่งสอนโดย ผศ.พอ. ชูชาติ พิทักษากร โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 5 ชุดได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการเรียนไวโอลินตามแนวของ ชูชาติ พิทักษากร แบบประเมินผลและเกณฑ์การให้คะแนนการเรียนภาคปฏิบัติ แบบประเมินผลและเกณฑ์การให้คะแนนเพลงมาตรฐาน grade 1 และ grade 2 ตามแนวของ Trinity College of Music (London) และแบบตรวจสอบความถูกต้องชุดการสอนเรื่องไวโอลิน สำหรับผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวการสอนของ ซูซูกิ และชูชาติ พิทักษากร คล้ายกันโดยใช้ธรรมชาติของสรีระเป็นหลักในการสอนซึ่งต่างกับ แลงกีย์ ที่ใช้ทฤษฎีดนตรีเป็นหลักในการสอนและกำหนดเนื้อหาการสอน ตำราเรียนของ ซูซูกิ และ แลงกีย์ ขาดเนื้อหาการสอนเทคนิคการเล่นไวโอลินบางประการและมุ่งใช้สอนกับเด็ก แต่เนื้อหาการสอนของ ชูชาติ พิทักษากร มีความสมบูรณ์มุ่งใช้สอนกับผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังใช้เทคนิคการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อในการพัฒนาการเล่นไวโอลินให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น 2. ชุดการสอนเรื่องไวโอลินตามแนวของชูชาติ พิทักษากร มีมาตรฐานดี กลุ่มตัวอย่างสามารถเล่นเพลงไวโอลินมาตรฐาน grade 2 ของ Trinity College of Music (London) ได้เป็นอย่างน้อย โดยมีผลคะแนนเฉลี่ยมากกว่า ร้อยละ 75 ตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลการวิเคราะห์แบบวัดความคิดเห็นของนิสิตพบว่า นิสิตเห็นด้วยอย่างยิ่งกับวิธีการสอนไวโอลินของชูชาติ พิทักษากร และผลการวิเคราะห์แบบตรวจสอบความถูกต้องของชุดการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ แสดงความคิดเห็นว่าชุดการสอนเรื่องไวโอลินมีความถูกต้อง และสอดคล้องกันทั้งด้านจุดประสงค์ เนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอน ระยะเวลาในการทำกิจกรรม และการวัดการประเมินผล ซึ่งมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในระดับมากถึงมากที่สุด
Other Abstract: To compare teaching methods of Suzuki, Langey and Pitaksakorn and to develop a violin-pedagogy package according to Pitaksakorn's teaching method for violin non-major undergraduates. The study was conducted using pre-experimental design. A sample consisted of the whole population of 11 violin non-major students in music education program at Faculty of Education, Chulalongkorn University. They took "2712213 String Class" course conducted by Pitaksakorn in the second semester of academic year 1996-97. Five sets of data were collected from the following sources: questionaire for students' opinion on Pitaksakorn's teaching method, achievement test scores, grade 1 and grade 2 examination pieces by Trinity College of Music (London), and an appropriation test. The results of this study show that 1) Suzuki's and Pitaksakorn's teaching methods allow students to use their own naturally physical movement, but langey's teaching method emphasizes on theory of music. Lessons developed by both Langey and Suzuki lack of some violin techniques of teaching, and emphasis on young student; however, Pitaksakorn's teaching method covers all, and emphasizes on adult learner. Also, his method includes a technique of muscle relaxation which increases the ability of learning. 2) The violin-pedagogy package according to Pitaksakorn's teaching method is highly standard. Students can play grade 2 examination piece by Trinity College of Music (London), and score an average of more that 75% which is the minimum passing requirement. The analysis obtained from the attitude test reveals that students express a favorable opinion of Pitaksakorn's teaching method. The analysis obtained from the appropriation test shows that the violin-pedagogy package is well designed. It has a clearly defined objective, full activity of learning, and complete coverage of evaluation. The use of the package is very highly beneficial to the students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11596
ISBN: 9745533505
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supot_Yu_front.pdf863.51 kBAdobe PDFView/Open
Supot_Yu_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Supot_Yu_ch2.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Supot_Yu_ch3.pdf933.25 kBAdobe PDFView/Open
Supot_Yu_ch4.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Supot_Yu_ch5.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open
Supot_Yu_ch6.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Supot_Yu_back.pdf992.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.