Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11852
Title: ผลการรักษาด้วยวิธีกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยากันชักในกลุ่มอาการชักต่างๆ ในคนไทย
Other Titles: Effects of vagus nerve stimulation in some epileptic syndromes in Thai patients
Authors: ชูศักดิ์ ลิโมทัย
Advisors: ชัยชน โลว์เจริญกูล
ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: fmedcle@md2.md.chula.ac.th, Chaichon.L@Chula.ac.th
teeradej@thaiepilepsy.com
Subjects: ลมบ้าหมู
เส้นประสาทเวกัส
ยาแก้ชัก
การดื้อยา
การกระตุ้นเส้นประสาท
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา ถึงปัจจุบันมีการพัฒนากันชักรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพดี มีความก้าวหน้าทางการถ่ายภาพรังสีที่ใช้ในการหาจุดกำเนิดชัก และมีการผ่าโรคลมชักที่ทันสมัย แต่ยังคงมีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ และดื้อต่อยากันชักที่มีอยู่ในปัจจุบัน การกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการรักษาอาการชักในผู้ป่วยเหล่านี้ ซึ่งผลของการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวยังไม่มีรายงานในประเทศไทย วิธีการศึกษา ผุ้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา 20 คน เป็นผู้ป่วยที่ดื้อต่อยากันชัก และได้รับการประเมินแล้วว่าไม่สามารถผ่าตัดได้ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ถึงมกราคม พ.ศ.2550 ได้รับการประเมินผลการกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสอย่างน้อย 3 เดือน ได้รับการประเมินผลของการกระตุ้นในแง่ของการเปลี่ยนแปลงความถี่อาการชัก ความรุนแรงอาการชัก ภาวะทางจิตประสาท และผลข้างเคียงจากการกระตุ้น โดยประเมินที่3, 6, 12, 18, และ 24 เดือน หลังการกระตุ้น ผลการศึกษา ในจำนวนผู้ป่วย 20 คน ที่เข้าร่วมการศึกษา มีผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการชักแบบกระจายทั่วทั้งศรีษะ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในกลุ่มอาการ Lennox-Gastaut syndrome มีจำนวน 5 คน และมีผู้ป่วย 15 คน ที่อยู่ในกลุ่มอาการชักแบบเฉพาะที่ ในแง่ของผลการกระตุ้นในการลดอาการชัก พบว่า การกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสสามารถลดอาการชักได้ดี ในกลุ่มอาการชัก Lennox-Gastaut syndrome โดยมีค่าเฉลี่ยอาการชักที่ลดลงเท่ากับ 9.36% (p = 0.746), 13.25% (p = 0.745), 30.88% (p = 0.547), 18.29% (p = 0.513) และ 10.27% (p = 0.579) หลังการกระตุ้นที่3, 6, 12, 18, และ 24 เดือน ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มอาการชักแบบเฉพาะที่ ผลการกระตุ้นที่ 3 เดือน มีค่าเฉลี่ยอาการชักที่ลดลง เท่ากับ 5.09% (p = 0.707) ส่วนที่ระยะเฝ้าติดตาม 6, 12, 18 และ 24 เดือน มีค่าเฉลี่ยอาการชักที่เพิ่มขึ้น เท่ากับ 29.65% (p = 0.139), 11.35% (p = 0.385), 42.63% (p = 0.403), และ 13.99% (p = 0.047) ตามลำดับ แต่มีผู้ป่วยที่รายงานว่าความรุนแรงอาการชักลดลง 25-100% และภาวะจิตประสาทดีขึ้น 17-100% ที่ระยะเฝ้าติดตามต่างๆ โดยผลข้างเคียงจากการกระตุ้นน้อยและดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป สรุปผลการศึกษา การกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสได้ผลดีในการลดอาการชักในกลุ่มอาการชัก Lennox-Gastaut syndrome และช่วยให้ความรุนแรงอาการชัก และการประเมินการทางจิตประสาทของผู้ป่วยในกลุ่มอาการชักแบบเฉพาะดีขึ้น โดยที่ผลข้างเคียงจากการกระตุ้นมีเพียงเล็กน้อย และผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาด้วยวิธีนี้ได้ดี
Other Abstract: Background Despite utilization of several new antiepiliptic drugs, modern imaging technique and advance resective surgery for epilepsy treatment, some epileptic patients have still suffered from epileptic attacks. Vagus nerve stimulation (VNS), widely used as adjunctive treatment of medically refractory partial epilepsy, is an alternative treatment in these patients. Whilst the effectiveness and safety of the VNS have not been reported in Thai epiliptics. Method Twenty patients were enrolled between May 2004 and January 2007 after undergoing an implantation of VNS device. All of them underwent presurgical 24-hour video-EEG monitoring for excluding candidates of epilepsy surgery. Seizure frequency, severity of seizure, neuropsychological assessment, and side effects were collected and assessed at 3, 6, 12, 18, and 24-month. Results twenty patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital, dividing into 5 patients with generalized epilepsy, Lennox-Gastaut syndrome(LGS), and 15 patients with focal epilepsy. Apparently in subgroup of LGS, the seizure frequency reduced in every of follow-up period , mean seizure reduction at 3, 6, 12, 18 and 24 months after stimulation were 9.36% (p is identical 0.746), 13.25% (p is identical 0.745), 30.88% (p is identical 0.547), 18.29% (p is identical 0.513) and 10.27% (p is identical 0.579) respectively. In focal epileptic patients, mean seizure reduction was 5.09% (p is identical 0.707) at 3 months, the other follow-up periods, 6, 12, 18 and 24 months, seizure increased 29.65% (p is identical 0.139), 11.35% (p is identical 0.385), 42.63% (p is identical 0.403), and 13.99% (p is identical 0.047) respectively. However, 25-100% of these patients reported improvement in seizure severity in every follow-up period. Neuropsychological assessment was improved in 17-100% of patients. Side effects, which resolved over time, were minimal and tolerable. Conclusion in our experience, the VNS treatment is effective and tolerable in some epileptic syndromes, particularly Lennox-Gastaut syndrome. Even though anti-seziure effects of VNS in focal epilepsy is modest, severity of seizure and neuropsychological function are obviously improved.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11852
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chusak.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.