Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12051
Title: การพัฒนาโปรแกรมการสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีสัมฤทธิผลการอ่านภาษาไทยต่ำ
Other Titles: A development of the Thai remedial reading program for prathom suksa two students with low Thai reading achievement
Authors: หทัยรัตน์ คงวัฒนะ
Advisors: ปิตินันทน์ สุทธสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาไทย -- การอ่าน
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
ภาษาไทย -- การสอนซ่อมเสริม
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสอนซ่อมเสริม การอ่านภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีสัมฤทธิผลการอ่านภาษาไทยต่ำ การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างโปรแกรมการสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย 3) ทดลองใช้โปรแกรมการสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย ตัวอย่างประชากรคือนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลการอ่านภาษาไทยต่ำในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2538 ของโรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที 4) ปรับปรุงโปรแกรมการสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย ผลการทดลองใช้โปรแกรมพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมฤทธิผลการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมฤทธิผลการอ่านภาษาไทยของนักเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนทุกคนในโปรแกรมมีคะแนนสัมฤทธิผลการอ่านภาษาไทยหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ และสูงกว่าเกณฑ์การประเมิน อย่างมีนัยสำคัญ โปรแกรมการสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย เป็นแผนการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานของโปรแกรมการสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย โดยจัดการสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย นอกเวลาเรียน ครั้งละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลานาน 3 เดือน เพื่อให้นักเรียนที่มีสัมฤทธิผลการอ่านภาษาไทยต่ำ สามารถพัฒนาระดับความสามารถในการอ่านเป็นคำและการอ่านสะกดคำให้สูงขึ้น มีหลักในการจัดกิจกรรมโดยปรับจากแนวคิดของเฟอร์นาลด์ อเดลแมน และเทเลอร์ ดังนี้ 1) จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล 2) ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจ โดยการให้นักเรียนมีอิสระในการเลือกกิจกรรม 3) จัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของการอ่านออกเขียนได้ 4) ช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนแต่ละขั้นตอนย่อย 5) มีการวางแผนประเมินผลการเรียนของนักเรียนร่วมกับครู และมีการแจ้งให้นักเรียนทราบถึงความสามารถที่ตนมีอยู่และระดับความสามารถที่นักเรียนจะต้องพัฒนาต่อไป กิจกรรมที่จัดมี 3 ประเภท คือ กิจกรรมการอ่าน-เขียนอิสระ กิจกรรมการอ่าน-เขียนที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการอ่านออกเขียนได้ กิจกรรมฝึกการอ่านภาษาไทยตามระดับความสามารถของนักเรียน
Other Abstract: The purpose of this study was to develop the Thai remedial reading program for Prathom Suksa two students with low Thai reading achievement. The stages of the program in this study were : 1) studying the fundamental information, 2) developing the program, 3) experimenting the program with 15 students of Prathom Suksa two of Anuban Chaiyaphum School, academic year 1995 and analyzing the data by using arithmetic mean, standard deviation and t-test. 4) improving the program. The findings were : 1) The post-test arithmetic mean score of the Thai reading achievement of the student in the program was higher than the pre-test at the .05 level of significance. 2) The post-test arithmetic mean score of the Thai reading achievement of student in the program was higher than the stipulated criterion score at the .05 level of significance. 3) The post-test arithmetic mean score of the Thai reading achievement of every student in the program was higher than the pre-test. The post-test arithmetic mean score of the Thai reading achievment of every student in the program was higher than the stipulated criterion score. The Thai remedial reading program was a plan determining procedures of providing Thai remedial reading instruction after school. 1 hour, 3 times a week, for 3 months to help students with low Thai reading achievement develop their ability in recognizing words and phonetic reading. The principles of the approach of the program which was adapted from were as follows : 1) Providing individualized activities appropriate for each learner's level of performance, 2) Promoting learner's motivation by giving freedom choices of activities, 3) Providing activities convincing learner the benefits and significance of literacy, 4) Helping learner to be successful in each small step of learning, and 5) Providing learning evaluation plan decided together by teacher and learner, and informing the learner about his/his current performance and expected performance of the next step. The activities of the program consisted of 1) Free choice reading-writing activities, 2) Reading-writing activities convincing benefits and significance of literacy, and 3) Thai reading practice activities according to each learner's level of performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12051
ISBN: 9746350382
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hatairat_Ko_front.pdf782.06 kBAdobe PDFView/Open
Hatairat_Ko_ch1.pdf778.18 kBAdobe PDFView/Open
Hatairat_Ko_ch2.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Hatairat_Ko_ch3.pdf853.85 kBAdobe PDFView/Open
Hatairat_Ko_ch4.pdf746.87 kBAdobe PDFView/Open
Hatairat_Ko_ch5.pdf850.07 kBAdobe PDFView/Open
Hatairat_Ko_back.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.