Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12655
Title: | การสร้างและการบริโภคสัญญะในปรากฏการณ์ชีวจิต และการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน |
Other Titles: | Signification process and sign consumption in "Body and mind" phenomenon and functions of mass media |
Authors: | ทัศนีย์ มีวรรณ |
Advisors: | กิตติ กันภัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kitti.G@chula.ac.th |
Subjects: | สัญศาสตร์ ชีวจิต สื่อมวลชน บริโภคกรรม คติการหน้าที่ |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ชีวจิต ในฐานะปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง การศึกษาเป็นไปเพื่อตอบวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อค้นหาสัญญะและการให้ความหมายของสื่อมวลชนโดยอาศัยแนวคิดสัญญะวิทยา (Seminotic) และแนวคิดการโหยหาอดีตเป็นกรอบในการศึกษา 2) เพื่อค้นหาระดับการให้คุณค่า ในการบริโภคชีวจิตของชนชั้นกลาง โดยอาศัยแนวคิดตรรกการบริโภค (Logic of consumption) ของโบดริยาร์ด 3) เพื่อศึกษาถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยอาศัยแนวคิดหน้าที่นิยมของสื่อมวลชน (Functionalism) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏการณ์ชีวจิตเป็นปรากฏการณ์เชิงสัญลักษณ์ ที่มีความหมายสัมพันธ์กับสุขภาพและแนวคิดการโหยหาอดีตที่พบได้ 3 ลักษณะ คือ 1) การกระทำเชิงสัญลักษณ์ 2) การต่อต้านวัฒนธรรมสมัยใหม่ 3) การหวนสู่อดีต โดยอาศัยการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ความหมายที่พบทั้งหมดนี้ เกิดจากการให้ความหมายของสื่อมวลชน ด้วยวิธีการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และการสร้างความหมายใหม่ ในการบริโภคชีวจิตของชนชั้นกลางนั้น พบว่า อยู่ในระดับตรรกวิทยาเชิงหน้าที่การใช้สอยมากที่สุด คือ 1) เพื่อการบำบัดโรค 2) เพื่อสุขภาพ 3) เพื่อเป็นทางเลือก อย่างไรก็ตาม การบริโภคชีวจิตของชนชั้นกลางยังแฝงมูลค่าเชิงสัญญะ คือ ค่าความเจาะจงทางชนชั้น ในด้านการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น พบว่า สื่อมวลชนแสดงหน้าที่ในปรากฏการณ์ชีวจิตดังนี้ 1) การให้สาระความรู้ 2) การเผยแพร่แนวคิดหรือการถ่ายทอดอุดมการณ์ 3) การนำเสนอทางเลือกใหม่ 4) การเป็นเวทีสาธารณะ จากข้อค้นพบในส่วนนี้ แสดงให้เห็นว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญต่อการทำหน้าที่ในปรากฏการณ์ชีวจิต |
Other Abstract: | follows: firstly, to identify signs and explain the signification process given by the mass media using semiotics and nostalgia theories. Secondly, to evaluate the logics of consumption theory. Thirdly, to study the mass media's functions using functionalism approach. The findings have shown that the "Body and Mind" phenomenon is a symbolic phenomenon by signifying health and reflecting nostalgia concept. The phenomenon represents symbolic interaction, anti-modern and returns to the past using scientific explanation. Besides, the findings shows that in the signification process the mass media employ the explanation related to the systematic information provision and the resignification. According to the logics of consumption of the middle class, utility values are found as follows: healing disease, being healthy and being an alternative. However, the Body and Mind consumption of the middle class also represent the identity of the class. The functions of the mass media in the "Body and Mind" phenomenon are as follows: providing knowledge, transmitting the ideology, offering the new alternative and being the public forum. These findings show that the mass media play the important role in the "Body and Mind" phenomenon. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12655 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.353 |
ISBN: | 9743349774 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.353 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thassnee_Me_front.pdf | 408.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thassnee_Me_ch1.pdf | 690.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thassnee_Me_ch2.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thassnee_Me_ch3.pdf | 430.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thassnee_Me_ch4.pdf | 3.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thassnee_Me_ch5.pdf | 711.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thassnee_Me_ch6.pdf | 419.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thassnee_Me_back.pdf | 307.08 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.