Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13195
Title: ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำหนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Emotional intelligence of grade six students in schools under the jurisdiction of the Ofice of the Basic Education Commission in Bangkok metropolis
Authors: ชุลี ศรีนวล
Advisors: วิไล วงศ์สืบชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Wilai.W@Chula.ac.th
Subjects: ความฉลาดทางอารมณ์
นักเรียนประถมศึกษา
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์และปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพญาไท โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์และโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส จำนวน 621 คน ที่ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบสองขั้นตอน โดยนักเรียนเป็นผู้กรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุขอยู่ในระดับปกติ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในระดับ 2 ตัวแปรด้วยตารางไขว้และทดสอบสมมุติฐานด้วยค่าไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์คือ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ความอบอุ่นในครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การได้รับการยอมรับจากเพื่อนนักเรียน และการได้รับการยอมรับจากครู/อาจารย์ ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยมีตัวแปรเพศเป็นตัวแปรคุมพบว่า ตัวแปรความอบอุ่นในครอบครัว และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนนักเรียน ยังคงมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ทั้งในกลุ่มนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ในขณะที่ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์เฉพาะในกลุ่มนักเรียนชาย และตัวแปรการได้รับการยอมรับจากครู/อาจารย์ มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์เฉพาะในกลุ่มนักเรียนหญิง ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยมีตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองเป็นตัวแปรคุมพบว่า ตัวแปรการได้รับการยอมรับจากเพื่อนนักเรียนและการได้รับการยอมรับจากครู/อาจารย์ มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ในกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ทั้งแบบประชาธิปไตยและแบบเข้มงวดกวดขัน ในขณะที่ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การใช้เวลากับสื่อและความอบอุ่นในครอบครัว มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์เฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากผู้ปกครองแบบประชาธิปไตย และพบว่าตัวแปรสถานภาพสมรสของผู้ปกครองมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ เฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากผู้ปกครองแบบเข้มงวดกวดขัน
Other Abstract: To study emotional intelligence of grade six students in schools under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission in Bangkok Metropolis, and to investigate factors affecting their emotional intelligence. The samples are grade six students from Phayathai School, Pibool Uppatham School and Wat Prayurawongsawas School. Six hundred twenty one students are selected by two stages sampling. The self-administered questionnaire is used to obtain information. The percentage distribution shows that emotional intelligence in the three aspects studied, namely: virtue, competency and happiness, of most of the students is at a normal level. The results of bivariate analysis using chi-square at 0.05 statistically significance show that six independent variables influence emotional intelligence, namely: sex, grade point average, family relation, type of family care, acceptance of friends and acceptance of teachers. Results of multivariate analysis using sex as control variable show that family relation and acceptance of friends influence emotional intelligence of both male and female students. While grade point average and type of family care influence emotion intelligence of male students only. Whereas acceptance of teachers influences emotional intelligence of female students only. The multivariate analysis using type of family care as control variable shows that acceptance of friends and acceptance of teachers influence emotional intelligence of students raised by both democratic parents and authoritarian parents. While grade point average, spending time with mass media and family relation influence emotional intelligence of students raised by democratic parents, and marital status influences emotional intelligence of students raised by authoritarian parents.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13195
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1697
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1697
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chulee_sr.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.