Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13215
Title: Doraemon come to Thailand : The process of appropriating a foreign cultural product
Other Titles: โดราเอมอน มาเมืองไทย : กระบวนการครอบครองสินค้าต่างวัฒนธรรม
Authors: Aoyama, Izumi
Advisors: Tanavadee Boonlue
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Arts
Advisor's Email: Tanawadee.b@chula.ac.th
Subjects: Doraemon (Fictitious character)
Comic books, strips, etc, -- Japan
Japanese culture
Issue Date: 2006
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The popularity of Japanese-style comics is apparent in Thai society today. This thesis attempts to study the process of the cultural dissemination of Japanese comics by focusing on a popular comic book, Doraemon, and examines the factors which contributed to the spread of the comics. The author conducted an in-depth research of the Japanese-style comics industry, which has played an important role in the cultural dissemination of Japanese-style comics in Thailand for more than 30 years. The transition of the products, the production, the readers, the publishers and the distributions are explored. The cultural flow of Doraemon in Thailand can be classified into two styles: "local market-led" circulation in which the whole process was conducted by local publishers from 1971 to 1993; and "standardized" circulation which is the flow from the Japanese copyright holders to local publishers from 1994 to the present. Both flows contributed to the spread of Doraemon. The "local market-led" circulation which is often regarded as piracy helped the cultural dissemination of Doraemon in terms of quantity. Affordable price and high supply provided by the local publishers created greater access to the product. The "standardized" circulation contributed to the diffusion of Doraemon in terms of quality. The demand from local consumers created the beginning of the cultural dissemination while the profit-seeking motives of local publishers enhanced the cultural flow even after the Japanese publishers joined the process of cultural diffusion. Despite the parallel publishing relationship between Thailand and Japan even after the standardization due to the enforcing of copyright protection, the active circulation of Japanese-style comics led to the dominance of the market and social discourses. However, the potential of the cultural dialogue through the comics gives a new highlight in the cultural interaction between Thailand and Japan.
Other Abstract: ความนิยมการ์ตูนแบบญี่ปุ่นปรากฏชัดเจนในสังคมไทยในปัจจุบัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความประสงค์ที่จะศึกษากระบวนการเผยแพร่วัฒนธรรมฝ่ายการ์ตูนญี่ปุ่นโดยมุ่งพิจารณาหนังสือการ์ตูนชุดโดราเอมอนและศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความนิยมแพร่หลายของการ์ตูนดังกล่าว ผู้เขียนได้ทำการวิจัยเชิงลึกอุตสาหกรรมการ์ตูนแบบญี่ปุ่น เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการเผยแผ่วัฒนธรรมผ่านการ์ตูนญี่ปุ่นในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 30 ปี โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนผ่านองผลิตภัณฑ์ การผลิต ผู้อ่าน ผู้พิมพ์ และการจำหน่ายการ์ตูนญี่ปุ่นการเผยแผ่ทางวัฒนธรรมของโดราเอมอนในประเทศไทย จำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การเผยแผ่แบบในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2536 และแบบ "การเผยแผ่แบบมาตรฐาน" อันเป็นกระแสที่มาจากผู้ถือลิขสิทธิ์ของญี่ปุ่นไปยังผู้พิมพ์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน การเผยแผ่ทั้ง 2 ลักษณะนี้ มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้การ์ตูนโดราเอมอนแพร่หลายออกไป การเผยแพร่โดยคนในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการซึ่งมักจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ได้มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่การ์ตูนโดราเอมอนในเชิงปริมาณ ราคาที่ย่อมเยา ตลอดจนความสามารถของผู้จัดพิมพ์ในประเทศที่ผลิตในปริมาณมากทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น การเผยแพร่แบบ "มาตรฐาน" มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ การ์ตูนโดราเอมอนในเชิงคุณภาพ ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศเป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแผ่วัฒนธรรม ในขณะที่จุดมุ่งหมายในเชิงการค้าเพื่อแสวงหาผลกำไรของ สำนักพิมพ์ในประเทศไทยก็มีส่วนในการส่งเสริมการเผยแผ่วัฒนธรรม แม้เมื่อผู้พิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าร่วมในกระบวนการเผยแผ่วัฒนธรรมแล้ว ถึงแม้ว่าประเทศไทยและญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในการจัดพิมพ์การ์ตูน โดราเอมอน ความเป็นมาตรฐานอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ การพิมพ์จำหน่ายการ์ตูนแบบญี่ปุ่นอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้นำไปสู่อิทธิพลของการ์ตูนญี่ปุ่นในท้องตลาดและในการสร้างวาทกรรมทางสังคม อย่างไรก็ดี ศักยภาพในการสื่อสารทางวัฒนธรรมผ่านการ์ตูนจะเป็นมิติใหม่ของปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2006
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Thai Studies
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13215
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1528
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1528
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
izumi.pdf16.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.