Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13642
Title: การหาปริมาณความชื้นในบรรยากาศด้วยค่าการรังวัดจากจีพีเอส
Other Titles: Determination of precipitable water vapor content using GPS observation
Authors: สำเนียง สุตระ
Advisors: เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chalermchon.S@Chula.ac.th
Subjects: ความชื้นในบรรยากาศ
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
โทรโพสเฟียร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปริมาณความชื้นในบรรยากาศถือเป็นตัวแปรหลักในการพยากรณ์อากาศ ซึ่งสามารถศึกษาการแปรเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาลได้ โดยปกติค่าปริมาณความชื้นในบรรยากาศสามารถรังวัดได้โดยตรงจากเครื่องไมโคเวฟเรดิโอมิเตอร์ อย่างไรก็ดีราคาของชุดเครื่องมือดังกล่าวยังถือว่าสูงมากหากต้องการที่จะติดตั้งในทุกสถานที่ตามที่ต้องการ เนื่องจากราคาของเครื่องรับสัญญาณจีพีเอสแบบสองความถี่นั้นถูกกว่าเครื่องไมโคเวฟเรดิโอมิเตอร์ประมาณสิบเท่า ดังนั้นทางเลือกอีกทางในการหาค่าปริมาณความชื้นในบรรยากาศ คือการแปลงค่าความคลาด เคลื่อนเนื่องจากการหักเหในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ในข้อมูลจีพีเอสมาเป็น ค่าปริมาณความชื้นในบรรยากาศ ในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลจีพีเอสสามช่วงด้วยกันคือตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 วันที่ 4 พฤศจิกายน ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2545 และวันที่ 2 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 เพื่อหาค่าปริมาณความชื้นในบรรยากาศจากจีพีเอส ในขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลได้เลือกใช้ แบบจำลองการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์มาตรฐานที่ต่างกันสามแบบจำลอง คือ แบบจำลอง Saastamoinen แบบจำลอง Modified Hopfield และแบบจำลอง Essen and Froome พบว่าค่าปริมาณความชื้นในบรรยากาศจากจีพีเอสที่ได้ไม่มีความแตกต่างกันที่มีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามค่าที่ได้จากการใช้แบบจำลอง Essen and Froome เป็นค่าที่ดีที่สุด
Other Abstract: The Precipitable Water Vapor (PWV) content is the main variable for weather forecasting and can be used to study the variation of climate in any season. Normally, the PWV content can be measured directly from microwave radiometer. However, the cost of this instrument is still far too expensive to install at any locations. Since the cost of a dual-frequency GPS receiver is about ten times less expensive than the microwave radiometer, an alternative way to determine the PWV content is to convert the tropospheric bias contaminated in GPS data to the PWV content. In this study, we used three periods of GPS data, August 6 to October 31, 2001, November 4 to December 28, 2002 and March 2 to March 31, 2004. In order to investigate a sensitivity of GPS-derived PWV values, three standard tropospheric models, namely Saastamoinen model, Modified Hopfield model, and Essen and Froome model were used in the data processing step. It was found that there are no significant differences in the GPS-derived PWV values. However, It should be noted that based on the results in this investigation. The use of Essen and Froome model tends to produce the best estimated PWV values.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13642
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1405
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1405
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samnieng_Su.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.