Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13648
Title: กระบวนการยุติธรรมทางอาญา เปรียบเทียบ ไทย-ลาว : ศึกษาขั้นตอนการพิจารณาของศาลชั้นต้น
Other Titles: A comparative study of criminal process in Thailand and Laos : a trial process in the court of first instance
Authors: คำพัน บุญพาคม
Advisors: มัทยา จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Mattaya.J@Chula.ac.th
Subjects: กระบวนการยุติธรรมทางอาญา -- ไทย
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา -- ลาว
วิธีพิจารณาความอาญา -- ไทย
วิธีพิจารณาความอาญา -- ลาว
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการยุติธรรมทางอาญาขั้นตอนการพิจารณาของศาลชั้นต้น เป็นการใช้อำนาจของรัฐเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดอาญาโดยศาล ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาก็จะมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอันได้แก่ชีวิต ร่างกายและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ในการทำหน้าที่พิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น ศาลจะต้องเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้แก่คู่ความและอยู่ภายใต้อาณัติแห่งกฎหมาย เนื่องจากศาลเป็นองค์กรพิพากษามีหน้าที่ดูแลการบังคับใช้กฎหมายอาญาและหน้าที่ประกันความบริสุทธิ์ของจำเลย การพิจารณาพยานหลักฐานถือว่าเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาและพยานหลักฐานนั้นจะต้องได้มาโดยชอบกระบวนความ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางกฎหมายและบังเกิดความสงบขึ้นในสังคม การเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายเช่นกันจะพบว่ามีความแตกต่างในบางอย่าง เช่น ในทางวิวัฒนาการแนวความคิดทฤษฎีและรูปแบบของกระบวนการ ประเทศลาวมีแนวโน้มไปในทางทฤษฎี The crime control ซึ่งเป็นการมุ่งควบคุมและปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลักโดยเน้นไปที่ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย และความสงบของสังคม บทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจศาลในการดำเนินคดีมีจำกัดเพียงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่วนประเทศไทยมีแนวโน้มไปในทางทฤษฎี The due process คือเน้นหนักที่ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล และมีบทบัญญัติกฎหมายให้อำนาจศาลในการดำเนินคดี มีกว้างขวางกว่าประเทศลาว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนมุ่งศึกษาถึงวิวัฒนาการแนวความคิด ทฤษฎีหลักเกณฑ์ และรูปแบบการดำเนินคดีในชั้นพิจารณาพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของระบบแต่ละประเทศ เพื่อนำไปปรับปรุงและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
Other Abstract: A Criminal procedure the step of the court procedure in first instance, on be half of the state, the court will punishes the prisoner. When the court decides the cases it will be effective to personal freedom. Such as life, health and ownership. The court has duty to prevent an impartiality of the party and decide the cases under law only because, the court is a organization of state and has duty to use the pernal law in addition, the court is still to protect an innocent of the accused the judges have to consider the cases by the evidence and witness as depenel of judge. However, the most of evidences should be legally collect. For equally to use law and to make prevent the peace in society. The comparison between Laos and Thailand are also civil law countries, but the both of countries are still have the destination some of point for instance, in develop, the theory and the method, Laos is trend to the crime control theory to be focus on eliminate crime, it will be enforce the law and protect peace of the society, but Laos is still limit the law to support the court due to there is a criminal procedure law only. Thailand is trend to use the due process theory which focus on to be protect personal freedom there are many law to support the court process than Laos. This thesis author has research to develop principle, idea and method of process and the slept of the court procedure in first instance. In addition, author is still to compare and find the advantage and dis advantage each country, because I want to improve and useful this principle in the future
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13648
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.24
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.24
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khamphanh_Bo.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.