Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13862
Title: | แนวทางการพัฒนาย่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Development guidlines for Sao Chingcha district, Bangkok |
Authors: | วรี จิระรัตน์พันธ์ |
Advisors: | สุวัฒนา ธาดานิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suwattana.T@Chula.ac.th |
Subjects: | ย่านประวัติศาสตร์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ ย่านเสาชิงช้า (กรุงเทพฯ) |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาวิวัฒนาการของย่านเสาชิงช้า และปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของย่าน วิเคราะห์สภาพพื้นที่ ปัญหา ข้อจำกัด นโยบาย แผนพัฒนาและโครงการที่มีผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคม แนวโน้มและศักยภาพการพัฒนาของย่านเสาชิงช้า เสนอแนวทางการพัฒนาย่านเสาชิงช้า ให้คงรักษาเอกลักษณ์ทางด้านประวัติศาสตร์และดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน การวิจัยในลักษณะของงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ ทุติยภูมิ การสำรวจชุมชน และการสังเกตพื้นที่ และวิเคราะห์ศักยภาพโดย SWOT analysis จากการศึกษาพบว่า ย่านเสาชิงช้าเป็นย่านที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และยังคงดำรงความเป็นแหล่งที่ตั้งของศูนย์กลางของศาสนสถาน โบราณสถาน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การปกครองและพื้นที่อาศัย จึงส่งผลให้ย่านเสาชิงช้ามีบทบาท และความสำคัญต่อกรุงเทพมหานครจากในอดีตจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าย่านเสาชิงช้ายังคงเป็นย่านแหล่งศาสนสถาน และที่ตั้งหน่วยงานบริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร ย่านกิจกรรมการค้าที่ผูกพันกับศาสนา ย่านอยู่อาศัย และย่านการให้บริการในเรื่องร้านขายอาหาร แต่กิจกรรมในเชิงพาณิชย์ของย่านเสาชิงช้ากำลังลดความสำคัญ เนื่องจากมีย่านพาณิชยกรรม และศูนย์การค้าที่ทันสมัยกระจายตัวอยู่ทั่วไปในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของรัฐบาลที่มีแผนการย้ายหน่วยงานราชการทั้งหมดไปยังพื้นที่รอบนอก และแผนการปรับเปลี่ยนศาลาว่าการกรุงเทพมหานครให้เป็นอาคารที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ย่านเสาชิงช้าจึงซบเซาและเผชิญหน้ากับปัญหา ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของย่านยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องวางแนวทางพัฒนาเพื่อยังคุณค่าของย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้ และฟื้นคืนภาวะเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาความซบเซา และนำความมีชีวิตชีวามาสู่ชุมชนย่านเสาชิงช้าอย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนาย่านเสาชิงช้า จึงเป็นการนำเอาทรัพยากร ที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการตอบสนองความต้องการของชุมชนในด้านการส่งเสริมรายได้ยุทธศาสตร์การพัฒนา จึงต้องเป็นการเพิ่มบทบาทของการท่องเที่ยวให้กับย่านเสาชิงช้า และส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นกิจกรรมหลักนำรายได้มาสู่ชุมชน การพัฒนาจึงเป็นทั้งในเชิงรุกคือส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาชุมชนโดยทั่วไป เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีต่อชุมชนของย่านเสาชิงช้า และเป็นการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว |
Other Abstract: | To study the development of Sao Chingcha District and factors affecting its changes, to analyze the nature of the area, its problems, its limitations and its potential, to analyze the related policy, development plans and projects affecting its economic and social aspects and its development trend and to suggest guidelines for its development so that it can maintain its historical values and conduct economic and social activities in line with the current changes of Bangkok. This qualitative research is conducted by studying primary and secondary data, surveying the case study area, doing field observation and analyzing the area’s potential by using SWOT Analysis. It was found that Sao Chingcha District has undergone development and still maintains its role as the center of religious and archeological sites. The activities related to economy and politics and the residential areas have affected its role and importance. Three factors which affect this area are the nature of the area, activities and man. The factors are determined by its physical features, eco-social aspects and communities in the area. Changes have taken place in this area because of an increase in the number of population and the rapid expansion of Bangkok. Since Sao Chingcha is an area near the central part of Bangkok which has been expanded rapidly, the physical, economic and social problems in Sao Chingcha arise. As a result, solutions have to be found so that Sao Chingcha can be further developed and maintain its uniqueness. To develop this area, it is important to maximize the use of the existing resources by promoting this area as a major tourist attraction to earn income for the communities. The development guidelines should focus on this area’s historical, cultural and art aspects and the community development in general, resulting in good environment for people living in the communities and convenience and safety for visitors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13862 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1764 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1764 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Waree_Ji.pdf | 7.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.