Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14213
Title: ปัญหาและอุปสรรคในการกำกับดูแลเนื้อหาสื่ออินเทอร์เน็ตโดยหน่วยงานภาครัฐ
Other Titles: Problems and obstacles of Internet content regulating by state agencies
Authors: บรรชา ลิมปสถิรกิจ
Advisors: สุธี พลพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sutee.P@chula.ac.th
Subjects: อินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำหน้าที่กำกับดูแลเนื้อหาสื่ออินเทอร์เน็ตโดยหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบเนื้อหาต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมที่ปรากฏในสื่ออินเทอร์เน็ต โดยศึกษาหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลเนื้อหาสื่ออินเทอร์เน็ต 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1. สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม 2. ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 3. ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 4. กลุ่มงานตรวจสอบการใช้เทคโนโลยี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยได้สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับบุคลากรของหน่วยงานดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากปัจจัยทางด้านคุณลักษณะของสื่ออินเทอร์เน็ต ที่มีจำนวนผู้ผลิตเนื้อหาเป็นจำนวนมากจนยากแก่การควบคุม และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนสามารถเป็นผู้ผลิตเนื้อหาได้ อีกทั้งแหล่งที่มาของเนื้อหาอินเทอร์เน็ตนั้นมีที่มาจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านกฎหมายและวัฒนธรรม ทำให้การควบคุมเนื้อหาเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดๆเข้ามาควบคุมเนื้อหาอินเทอร์เน็ตโดยตรง จึงต้องอาศัยกฎหมายที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้เพื่อควบคุมการเผยแพร่เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย อันเป็นอุปสรรคในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมาย ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน พบว่ามีปัญหาทางด้านของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเนื่องมาจาก หน่วยงานต่างๆ ขาดความพร้อมในด้านของการสรรหาบุคลากรและปริมาณงานที่มีมากกว่าจำนวนผู้ปฏิบัติงาน อันเกิดจากข้อมูลเนื้อหาที่มากมายมหาศาลของสื่ออินเทอร์เน็ต อีกทั้งในส่วนของงบประมาณก็ยังไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร เนื่องมาจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีราคาแพง และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบราชการถือเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน เนื่องมาจากทำให้เกิดความล่าช้า อีกทั้งภาคเอกชนก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร เพราะภาคเอกชนเน้นความสำคัญในเชิงธุรกิจมากกว่า ทำให้ขาดการร่วมมือในการทำงาน อีกทั้งประชาชนก็ไม่พอใจในแนวทางการปิดกั้นเว็บไซต์ ซึ่งถือเป็นมาตรการหนึ่งในการกำกับดูแลเนื้อหาสื่ออินเทอร์เน็ต
Other Abstract: To study problems and obstacles of internet content regulating by state agencies including understanding about unsuitable contents in internet. This research studies about 4 state agencies that regulate internet content such as 1. Bureau of Technology and Cyber Crime, Department of Special Investigation, Ministry of Justice. 2. High-Tech Crime Center, Royal Thai Police. 3. Culture Watch Center, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Culture. 4. Center of Technology Usability Patrol, Ministry of Information and Communication Technology. The study relies on these methodologies: in-depth interviews with related personnel. The research finds that internet attributes is the factor of problems and obstacles because on internet have many content provider and everyone who use internet can produce contents. Source of contents send to Internet from everywhere in the world which different in laws and culture that hard to control or regulate. At present, there are no laws that deal specifically with the regulation of internet content. For the time being, law enforcement agencies have to rely on existing laws that are applicable such as criminal laws under the section on obscene materials. Furthermore, agencies have problems and obstacles about budget and personnel that not sufficient and lack of readiness to work because internet have many huge information and content to monitor. Technology is the one factor of problem because it gone very faster than equipment in agencies And the last, bureaucracy is the important factor to make the problem because it make working lately and the private sector such as company do not to cooperate with state agencies because the private sector more interest in business. Moreover citizen not agree about website blocking that make many problems later.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14213
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.481
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.481
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Buncha_Li.pdf11.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.