Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14242
Title: การสื่อความหมายเชิงสัญรูปของการสื่อสารเชิงกราฟิกสำหรับงานโทรทัศน์เฉพาะเรื่อง
Other Titles: The iconic signification of graphic communication in selected television works
Authors: ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: สัญศาสตร์
การสื่อสารเชิงกราฟิก
รายการโทรทัศน์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อเข้าใจถึง การสร้างความหมายตรงในการสื่อความหมายด้วยสัญญะเชิงสัญรูปที่ปรากฎในกราฟิกงานโทรทัศน์ เพื่อเข้าใจถึงการสื่อความหมายด้วยลักษณะการสมสัณฐานของกราฟิก และเพื่อเข้าใจถึงการสื่อความหมายอันเกิดจากการจัดวางองค์ประกอบภาพกราฟิก โดยคัดสรรมาศึกษาจากรายการโทรทัศน์ 4 ประเภท ได้แก่ รายการข่าว สารคดี กีฬา และเกมส์โชว์ ผลการวิจัยสรุปว่า การสร้างความหมายตรงในการสื่อความหมายด้วยสัญญะเชิงสัญรูปถูกใช้ในการสาธิตเพื่อพิสูจน์เชิงเหตุผลในรายการสารคดี ข่าวและกีฬา ส่วนการสร้างความหมายอื่นๆ จะอยู่ในรูปแบบของ Text-based graphic สื่อความหมายด้วยการขับเคลื่อนของกราฟิกตัวอักษรเป็นหลัก (Text-driven) ในรายการกีฬา เกมส์โชว์และข่าว ซึ่งกราฟิกถูกใช้ในการเพิ่มข้อมูลแก่ผู้ชม จัดการข้อมูลที่มีความสำคัญให้อยู่ในรูปการมองเห็น เปิดโอกาสให้อ่านเนื้อหาอย่างรวดเร็ว การสื่อความหมายอันเกิดจากการสมสัณฐาน พบว่าในรายการสารคดีเป็นการสมสัณฐานเชิงโครงสร้าง รหัสสารของกราฟิกมีความเสมือนกันในทางโครงสร้าง อันได้แก่ รูปร่าง สี พื้นผิว แสงเงา มุมกล้อง กับรหัสสารของสิ่งที่กราฟิกนำเสนอแทน ขณะที่รายการเกมส์โชว์ และกีฬา เป็นการสมสัณฐานเชิงหน้าที่ ความเสมือนกัน เทียบเทียมกันในการทำหน้าที่ อาทิ ตัดสินเกมส์การแข่งขัน บรรยายเกมส์การแข่งขัน ดำเนินรายการ เป็นต้น ส่วนการจัดวางองค์ประกอบภาพในการสื่อความหมายในรายการข่าว เป็นการรวมกันของการจัดวางคุณค่าของข้อมูลแบบศูนย์กลางไปสู่ขอบภาพ และแบบบนล่างเข้าด้วยกัน ข้อมูลที่สำคัญถูกจัดวางกลางกรอบภาพ และลำดับความสำคัญของข้อมูลจากบนลงล่าง รายการเกมส์โชว์จัดวางคุณค่าของข้อมูลแบบบนล่าง ข้อมูลสำคัญปรากฎในพื้นที่ส่วนบนที่เป็นภาพเคลื่อนไหว พื้นที่ส่วนล่างจัดวางข้อมูลรายละเอียดของเกมส์ และรายการกีฬาปรากฎลักษณะการจัดวางคุณค่าของข้อมูลทั้งสามรูปแบบ คือ แบบซ้ายขวา บนล่าง และศูนย์กลางไปสู่ขอบภาพ ส่วนในรายการสารคดี การนำเสนอด้วยภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกสามมิติ การสื่อความหมายจะเกิดขึ้นจากมุมกล้อง และการเคลื่อนไหวของกล้องเชิงสมมติที่จะบอกเล่าแต่ละเรื่องราวของการนำเสนอ
Other Abstract: This research study was conducted using a qualitative method. The objectives were to understand the construction of denotative meaning of iconic signification in television graphic works, and to understand signification through the use of graphic isomorphism and through the arrangement of graphic composition. Four types of television works, namely news, documentary, sports and game show programs, were explored in the study. The study revealed that the construction of denotative meaning of iconic signification was used to demonstrate logical proofs in documentary, news and sports programs while other kinds of meaning construction in sports, game show and news programs were in text-based graphic forms that conveyed meaning mainly through text-driven graphics. These graphics were used to add more information and arrange important information into visual forms enabling the audience to read the information rapidly. The study also showed that structural isomorphism signification was used in documentary programs. Message codes of the graphics structurally resembled those of what they represented. The structural resemblance included figures, colors, surfaces, light and shadow and camera angles. However, in game show and sports programs, functional isomorphism was used such as in judging competitions, describing competitions, and running programs. Signification through the use of graphic composition arrangement in news programs was done by combining the centre-margin information value and top- bottom information value techniques. Important information was designated in the middle and at the top of the frame. It appeared at the top of the frame where motion pictures were while the details of the game shows were placed at the bottom. In sports programs, three types of information value composition i.e. left-right, top-bottom and centre-margin were found. Documentary programs that introduced their content through 3D computer graphics contained signification created through the application of camera angle and hypothetical camera motion.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14242
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1946
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1946
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chinnagrit_ud.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.