Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14300
Title: | การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเสริมพลังอำนาจภาคประชาชน ด้านความเป็นประชาธิปไตย |
Other Titles: | Proposed education guidelines for people sector empowerment on democratization |
Authors: | กรภัค จ๋ายประยูร |
Advisors: | ชนิตา รักษ์พลเมือง ชื่นชนก โควินท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | chanita.r@chula.ac.th Chuenchanok.K@Chula.ac.th |
Subjects: | ประชาธิปไตย การเรียนรู้ การศึกษาชุมชน การวางแผนหลักสูตร |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริม พลังอำนาจภาคประชาชนและนำเสนอ แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเสริมพลังอำนาจภาคประชาชนด้านความเป็นประชาธิปไตย โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกในพื้นที่กรณีศึกษาที่มีปัญหาผลกระทบจากโครงการของรัฐ 2 แห่ง ในจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ สร้างเป็นแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเสริมพลังอำนาจภาคประชาชน และตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. พลังอำนาจภาคประชาชนก่อตัวเกิดขึ้นมาจากภายในชุมชนไม่ใช่จากภายนอกนำเข้าไป ไม่ว่าผู้จุดประกายการเรียนรู้จะเป็นคนภายนอกหรือภายในชุมชนก็ตาม เงื่อนไขที่จำเป็นคือในชุมชนนั้นชาวบ้านต้องมีความพอเพียงพึ่งตัวเองได้ และมีผู้นำที่เสียสละ แต่ยังไม่เพียงพอ พลังอำนาจภาคประชาชนจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อชาวบ้านในชุมชนมีฐานความรู้ มีมโนสำนึก และมีการกระทำร่วม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดได้จากการเรียนรู้ ผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมพลังอำนาจภาคประชาชน ด้านความเป็นประชาธิปไตย คือผู้นำชาวบ้าน นักพัฒนาองค์กรเอกชน และนักวิชาการทั้งในและนอกชุมชน 2. กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมพลังอำนาจภาคประชาชนด้านความเป็นประชาธิปไตย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การรับรู้และสร้างมโนสำนึก 2) การรวมกลุ่ม เรียนรู้ แสวงหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา 3) การร่วมกันดำเนินการ 4) การประเมินผลการดำเนินการ เลือกสรร ปรับปรุงการดำเนินงาน 5) การสร้างความรู้ใหม่ โดยบูรณการความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและ ภูมิปัญญาชาวบ้าน และบูรณาการเข้าสู่ชีวิต 3. แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเสริมพลังอำนาจภาคประชาชนด้านความเป็นประชาธิปไตย ควรยึดหลักเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม และกำหนดชีวิตของตนเองและชุมชน ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนร่วมมือกันจัดการศึกษาที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ภาคประชาชนควรได้รับการสนับสนุนให้จัดโครงการศึกษาที่มีเนื้อหาและกิจกรรม หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน การศึกษาในระบบโรงเรียนควรส่งเสริมการสร้างพลังภาคประชาชนตั้งแต่เยาว์วัย โดยเน้นการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นวิธีการตั้งคำถาม การเสวนา การเรียนรู้ร่วมกันโดยการปฏิบัติและการพิจารณาใคร่ครวญ |
Other Abstract: | The objectives of this research were to analyze learning process of people sector empowerment and to propose education guidelines for people sector empowerment on democratization. Data were collected from two selected communities in Udonthani and Prachuap Khirikhan provinces. In-depth interview and non-participation observation were utilized for data collection. Expert judgement was employed to validate the proposed education guidelines for people sector empowerment on democratization. Research findings were as follows: 1. People sector empowerment was developed precisely within its own community even though the learning inspiration may come from outside the community. This empowerment was developed in the community where self-reliance and devoted community leader existed. Such condition was necessary but not sufficient; it must become the people’s knowledge, consciousness, and collective action, which could be enhanced by the learning process. The actors who look the crucial roles to organize learning process were the community leaders, the NGO members and the academics both in and outside of the community. 2. The people sector empowerment learning process on democratization consisted of five steps: (a) perceiving and developing conscientization, (b) group formation to analyze and solve exist problems. (c) cooperative implementation, (d) evaluating the outcomes (e) constructing and applying into their real lives through the integration of local knowledge, culture and wisdom with lessons learned in the community. 3. education guidelines for people sector empowerment on democratization should honor human dignity and potentialities. They should aim at solving existing problems in the community. People could participate and determine their own lives and communities. Public, private and people sectors should take part in providing education which linked formal, non-formal and informal learning. Community members should be encouraged to carry out various education projects to solve their own problems. Formal education should empower people since they were young by constructing community-related curriculum. Problem-posing method, dialogue, interactive learning through action were strongly recommended. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14300 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.780 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.780 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kornpak.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.