Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14425
Title: ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระในภาษามลายูถิ่นปัตตานี
Other Titles: Acoustic characteristics of Pattani Malay vowels
Authors: กัญญารัตน์ เอี่ยมวันทอง
Advisors: ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Theraphan.L@Chula.ac.th
Subjects: ภาษามลายู -- ภาษาถิ่น -- สระ
ภาษามลายู -- สัทศาสตร์
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงสระเดี่ยวธรรมดาและเสียงสระเดี่ยวนาสิกในพยางค์เปิดและพยางค์ปิดในภาษามลายูถิ่นปัตตานี ในเรื่องค่าความถี่ฟอร์เมินท์ ค่าระยะเวลา และค่าความเข้ม และเปรียบเทียบข้อค้นพบกับผลการศึกษาเสียงสระในเชิงสัทศาสตร์ทั่วไป ในภาษาธรรมชาติอื่นๆซึ่งได้มีการศึกษามาแล้ว ในงานวิจัยใช้ผู้บอกภาษาเพศชายจำนวน 10 คน เก็บข้อมูลด้วยการบันทึกเสียงคำตัวอย่างซึ่งปรากฏอยู่ในกรอบประโยค คำตัวอย่างจะครอบคลุมสระทั้งสองประเภท คือ สระเดี่ยวธรรมดา 8 หน่วยเสียง ได้แก่ /i/, /e/, /Ɛ/, /Ə/, /a/, /u/, /o/, /Ɔ/ และสระเดี่ยวนาสิก 4 หน่วยเสียง ได้แก่ /ĕ/, /ă/, /û/, /ɔ/ การวัดและวิเคราะห์ค่าทางกลสัทศาสตร์จะเลือกเฉพาะเสียงสระที่ปรากฏอยู่ในพยางค์ที่ลงเสียงหนักซึ่งมีโครงสร้างพยางค์เป็น 2 ประเภท คือ พยางค์เปิดและพยางค์ปิด โดยใช้โปรแกรมพราท (Praat) เวอร์ชั่น 4.5.06 ผลการวิจัยพบว่าเสียงสระเดี่ยวธรรมดาในพยางค์เปิดทุกเสียงมีค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 1 2 และ 3 ต่ำกว่าในพยางค์ปิด โดยความแตกต่างของค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 1 เท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่เสียงสระเดี่ยวนาสิกในพยางค์เปิดทุกเสียงมีค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 1 ต่ำกว่า แต่มีค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 2 และ 3 สูงกว่าในพยางค์ปิด โดยความแตกต่างของค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 1 เท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ เสียงสระเดี่ยวธรรมดาและเสียงสระเดี่ยวนาสิกในพยางค์เปิดทุกเสียงมีค่าระยะเวลามากกว่าในพยางค์ปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเสียงสระเดี่ยวธรรมดาและเสียงสระเดี่ยวนาสิกในพยางค์เปิดส่วนใหญ่มีค่าความเข้มมากกว่าในพยางค์ปิด ผลจากการเปรียบเทียบระหว่างเสียงสระเดี่ยวธรรมดากับเสียงสระเดี่ยวนาสิกแสดงให้เห็นว่า ทั้งในพยางค์เปิดและพยางค์ปิด เสียงสระเดี่ยวนาสิกส่วนใหญ่มีค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 1 ต่ำกว่า แต่มีค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 2 และ 3 สูงกว่าเสียงสระเดี่ยวธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เสียงสระเดี่ยวนาสิกทุกเสียงมีค่าระยะเวลามากกว่า แต่มีค่าความเข้มน้อยกว่าเสียงสระเดี่ยวธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราส่วนของค่าระยะเวลาของเสียงสระเดี่ยวธรรมดาต่อเสียงสระเดี่ยวนาสิก คือ 1 : 1.18 เมื่อปรากฏในพยางค์ปิด และ 1 : 1.19 เมื่อปรากฏในพยางค์เปิด นอกจากนี้ ผลการศึกษาเสียงสระในภาษามลายูถิ่นปัตตานียังมีลักษณะที่สอดคล้องกับผลการศึกษาเสียงสระในภาษาอื่นๆเพราะเป็นลักษณะทางสัทศาสตร์ที่เป็นสากล ในประเด็นต่อไปนี้ เสียงสระนาสิกมีค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 1 ต่ำกว่าและมีค่าความเข้มน้อยกว่าเสียงสระธรรมดา แต่เสียงสระนาสิกมีค่าระยะเวลามากกว่าเสียงสระธรรมดา เสียงสระในพยางค์เปิดมีค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 1 ต่ำกว่าและมีค่าระยะเวลามากกว่าในพยางค์ปิด ยกเว้น กรณีของค่าความเข้มที่พบว่าเสียงสระในพยางค์เปิดมีค่าความเข้มมากกว่าในพยางค์ปิด ซึ่งไม่เหมือนกับข้อค้นพบในภาษาอื่นๆ
Other Abstract: The aim of this research is to analyze the acoustic characteristics of the oral and nasal vowels in open and closed syllables in Pattani Malay and to compare the results of this research with studies on vowels in other languages. The data was collected from ten native male speakers pronouncing the test words in sentence frames. The test words covered both types of vowel, i.e. eight oral vowels: /i/, /e/, /Ɛ/, /Ə/, /a/, /u/, /o/, /Ɔ/and four nasal vowels: /ĕ/, /ă/, /û/, /ɔ/.Only stressed syllables, open and closed, were analyzed using Praat version 4.5.06. The research results indicate that all oral vowels in open syllables have lower F1, F2 and F3 values than those in closed syllables. Only the difference in F1 is statistically significant. All nasal vowels in open syllables have lower F1 value but higher F2 and F3 values than those in closed syllables; only the difference in F1 is statistically significant. All oral and nasal vowels in open syllables have longer duration than those in closed syllables; this duration difference is statistically significant. Furthermore, most oral and nasal vowels in open syllables have higher intensity value than those in closed syllables. When comparing the oral vowels with nasal vowels, it is noticeable that, both in open and closed syllables, most of the nasal vowels have lower F1 values but higher F2 and F3 values than the oral vowels. The difference between formant frequencies is statistically significant. Generally, the oral vowels have shorter duration but higher intensity than the nasal vowels. The ratio of duration for oral-to-nasal vowels is 1 : 1.8 in closed syllables and 1 : 1.9 in open syllables. In addition, the findings stated above are similar to those found by previous researchers on vowels in other languages in relation to the following aspects. Nasal vowels have lower F1 and lower intensity but longer duration than the oral vowels. Vowels in open syllables have lower F1 and longer duration than in closed syllables. In relation to intensity, vowels in open syllables have higher intensity than those in closed syllables. This finding is opposite to what has been found in studies of oral and nasal vowels in other languages.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14425
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2040
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2040
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanyarat_ie.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.