Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14820
Title: การบังคับใช้กฎหมายของกรมสอบสวนคดีพิเศษกับองค์กรอาชญากรรม
Other Titles: The enforcement of Department of Special Investigation on organization crime
Authors: ศุภกร ปุญญฤทธิ์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กรมสอบสวนคดีพิเศษ
การสืบสวนอาชญากรรม
การบังคับใช้กฎหมาย
ขบวนการอาชญากรรม
พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกระทำความผิดอันเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรม เป็นความผิดอาญาที่มีลักษณะแตกต่างไปจากความผิดอาญาทั่วไป โดยมีลักษณะพิเศษอันได้แก่ องค์กรอาชญากรรมเป็นการรวมตัวของกลุ่มอาชญากรที่มีการก่อตั้งเป็นองค์กร มีระบบการบริหารองค์กรโดยการบังคับบัญชาเป็นลำดับขั้น และประกอบกิจกรรมที่ผิดกฎหมายในหลายรูปแบบ ทั้งความผิดอาญาที่รุนแรงและความผิดที่กระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมอย่างอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยอง ค์กรอาชญากรรมจะมีเงินทุนไหลเวียนหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ซึ่งได้มาจากการประกอบกิจการผิดกฎหมายทั้งหลาย อีกทั้งการปราบปรามดำเนินคดียิ่งกระทำได้ยาก เนื่องจากองค์กรอาชญากรรมมีความเชี่ยวชาญในการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนและเก็บหรือกลบเกลื่อนทำลายพยานหลักฐานได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเมื่อจับกุมผู้กระทำความผิดได้ ก็มักเป็นเพียงอาชญากรระดับล่าง ซึ่งจะไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลในองค์กร อาชญากรรมของตนเนื่องจากเกรงกลัวผลร้ายที่จะตามมา ทำให้ยากในการสืบสวนขยายผล อย่างไรก็ดี ส่วนที่ยากที่สุดในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดที่เป็นองค์กรอาชญากรรม คือ การแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดขององค์กรอาชญากรรม ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนที่อาศัยความยืดหยุ่นของกฎหมายและใช้เทคนิคพิเศษต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลการสื่อสารต่างๆ พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษอันได้แก่ คดีที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมโดยใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนพิเศษที่มีความเหมาะสมกับการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีองค์กรอาชญากรรม ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวแม้จะให้อำนาจเจ้าพนักงานสอบสวนคดีพิเศษมากกว่าพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ยังมีข้อพิจารณาบางประเด็นที่อาจทำให้ผู้บังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เกิดความไม่ชัดเจนหรือเกิดช่องว่างของกฎหมายอยู่บ้าง ซึ่งการแก้ไขหรือเพิ่มเติมกฎระเบียบบางประการจะช่วยให้การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษเพื่อปราบปรามดำเนินคดีกับองค์กรอาชญากรรมเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract: Organization Crime Offences are different from other crimes because the organization crimes consolidate of criminals and manage in the organization form, the organization administration by consequences commandment and various types of illegal activities. And those activities lead to serious crimes, strong impact to the citizens in the society. Especially to the enormous amount of money flows in the criminal organizations, these money are from various illegal activities and difficult for the proceeding, because the organization crimes have expert on the complex offenses or hiding and destroy the evidences. Another reason is, the arrested criminals always be the low ranking criminal in the organization which the arrested would not disclose the information of the organization because of the scared of disasters followed. These investigation problems are the problem in the proceeding. Nevertheless, the hardest part of the organization crime investigation is how to derive the evidences to proceed the inquiry and prove the guilt of the accused. The aforementioned problems required the special law or special measures to resolve the remedies. Notwithstanding the foregoing mentioned, The special investigation act B.E. 2547 which authorized the special measures to the officers in the Department of special investigation for proceeding of inquiry. Those officers are The special investigation officers. On the other hand we can say that the special investigation act were legislated for the organization crime, because the special investigation is suitable for the various offences committed by the organization crime criminals. This act should be effective to suppress the offences committed by the organization crime in searching the evidences from the organization crime offences. Even Thailand has legislated the Special investigation act B.E. 2547 for the organization crime problem which this act has empowered the special investigation officers more than the inquiry official But we should scrutinize some part of the Special investigation act B.E. 2547 which still not be able to solve the organization crime problem due to some gaps of the law. Some amendments of this act or some regulations commented from this thesis may bridge the foregoing problem and bridge the gap of law which would be more effective in the suppression of the organization crime.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14820
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.788
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.788
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suppakorn_Po.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.